การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วม ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
Model development, Supervision, Participation, Primary Care Award (PCA.)บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ดำเนินการวิจัยโดยใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตามวงจร Deming’s Cycle (Plan Do Check Action: PDCA) การดำเนินการโดยจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย จัดกิจกรรมการระดมสมองด้วยเทคนิคการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ และการนิเทศงาน กลุ่มตัวอย่างคือทีมนิเทศงานจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบำเหน็จณรงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและโรงพยาบาลบำเหน็จณรงค์ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เกณฑ์การประเมินคุณภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิของหน่วยบริการ (Primary Care Award หรือ PCA)ขั้น 3 และแบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรในการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าทีแบบจับคู่ (paired t-test) และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของกลุ่มตัวอย่างก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง ( = 12.03, S.D. = 2.10) และหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับดี ( = 16.11, S.D. = 1.32) โดยความรู้ภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการสูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบล หลังการพัฒนารูปแบบการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในภาพรวมอยู่ในระดับดี และผลการประเมิน PCA.ขั้น 3 โดยทีมพัฒนาคุณภาพระดับจังหวัด ผ่านระดับการพัฒนาขั้น 3 ทุกแห่ง การประเมินความพึงพอใจของผู้นิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในภาพรวมระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง(=3.88, S.D.=0.36)
ข้อเสนอแนะ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ใช้กระบวนการพัฒนารูปแบบการนิเทศงานอย่างมีส่วนร่วมของบุคลากร
การประชุมเชิงปฏิบัติการการระดมสมองด้วยเทคนิคการประเมินแบบเสริมพลังอำนาจ ทำให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลผ่านการประเมิน PCA. ระดับการพัฒนาขั้น 3 ทุกแห่ง ซึ่งเหมาะสำหรับการนำไปใช้ในอำเภออื่นๆหรือในระดับจังหวัดต่อไป
คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ การนิเทศงาน การมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Abstract
The objective of this research was to study the development of the participatory
supervision for enhancing the quality of Tambon Health Promoting Hospitals in
Bamnetnarong District, Chaiyaphum Province. The study, based on Deming’s PDCA cycle,
encompassed the organization of such activities as academic workshops for the target groups brain storming and participatory supervision by the empowerment evaluation techniques. The study comprised and evaluation questionnaire survey of 35 staff members of the Office of Bamnetnarong District Public Health, Tambon Health Promoting Hospitals and the
Bamnetnarong Hospital. The questionnaire were applied for collecting data about knowledge and satisfactions of participatory supervision for enhancing the quality of Tambon Health Promoting Hospitals, Passing the Primary Care Award (PCA.) level 3 was a criteria for evaluation of Tambon Health Promoting Hospital. Percentage, mean and standard deviation were applied for data analysis. Comparative analysis of differences between groups was conducted using Paired t-test statistics. Qualitative data were analyzed by using content analysis.
The results found were as follows:
An average knowledge of participatory supervision processprior to the workshop showed at the medium scores (X =12.03, S.D. = 2.10), and post-workshop average
knowledge of participatory supervision process was highly significant (P<0.001) at the high scores (X = 16.11, and S.D. = 1.32). The enhancement of the quality of the Tambon Health Promoting Hospitals after the development of the participatory supervision was at high level and all hospitals had past the PCA on the criterion grade-3 Supervisor team’s satisfactions were at the high level (X = 3.88, S.D. = 0.36). This is the study of the participatory supervision. The findings will therefore benefit the development of recommendations for helping the Tambon Health Promoting Hospitals into practice in other sub district, district or in province level.
Keywords : Model development, Supervision, Participation, Primary Care Award (PCA.)