ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

ผู้แต่ง

  • ณัฐนิชา ศรีละมัย โรงพยาบาลสมุทรปราการ 71 ถ.จักกะพาก อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270
  • นฤมล ธีระรังสิกุล มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

Preterm babies, maternal perceived self-efficacy, behavior on maternal caring for preterm babies

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดา ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกและทารกคลอดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสมุทรปราการ จำนวน 30 ราย โดยสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดา ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ครั้งละ 45 นาที จำนวน 6 ครั้งและกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด และแบบสอบถามพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองเมื่อทารกอายุ 1 เดือน มารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย
การรับรู้ความสามารถของตนเอง คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวของทารกกลุ่มทดลองสูงกว่าทารกกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถตนเองของมารดา
ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด ช่วยให้มารดามีการรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น และมีพฤติกรรมการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดดีขึ้นซึ่งส่งผลให้น้ำหนักทารกมากขึ้น
คำสำคัญ : ทารกคลอดก่อนกำหนด  การรับรู้ความสามารถตนเองของมารดา
             พฤติกรรมการดูแลทารก คลอดก่อนกำหนด


Abstract


This quasi-experimental research aimed to study the effects of the maternal perceived self-efficacy enhancement program on caring for preterm babies. The samples were collected from 30 primigravida mothers and preterm babies who were admitted at the Newborn Unit in Samutprakarn Hospital. All samples were randomly assigned to be 15 cases of an experimental and 15 cases of a control group. The experimental group received the 45 minutes maternal perceived self-efficacy enhancement program on
caring for preterm babies for six times. The control group received routine care.
The research instruments consisted of the demographic questionnaire, perceived
self-efficacy on caring for preterm baby questionnaire, and maternal behavior in caring preterm baby questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics and t-test.
The results were found the babies were at one month old, the mean scores of maternal perceived self-efficacy and behavior for caring preterm babies in experimental group was statistically significant higher than those of the control group (p< .001).
The mean scores of infant weight in experimental group was statistically significant higher than those the control group (p< .001).
These findings showed that the use of the maternal perceived self-efficacy
enhancement program on caring for preterm babies increased the mother perception on their self-efficacy for caring preterm babies and behaved better in caring preterm babies. Body weight of infant was increase.
Keywords : Preterm babies, maternal perceived self-efficacy,
                behavior on maternal caring for preterm babies.

Author Biographies

ณัฐนิชา ศรีละมัย, โรงพยาบาลสมุทรปราการ 71 ถ.จักกะพาก อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270

พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

นฤมล ธีระรังสิกุล, มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ กลุ่มวิชาการพยาบาลเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย