ผลของการจัดโปรแกรมการสอนทักษะปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ต่อความรู้และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • อรุณวรรณ อุดมเกษมทรัพย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • สุภามาศ ผาติประจักษ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
  • พิชญา ทองโพธิ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 104

คำสำคัญ:

undergraduate nursing students, accident and emergency nursing, knowledge, self-efficacy, satisfaction, simulated case scenario

บทคัดย่อ


บทคัดย่อ


การเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับนักศึกษาพยาบาลเพื่อให้เกิดความรู้ ความมั่นใจ และนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการรักษาพยาบาล การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ในการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินและการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินของนักศึกษาพยาบาลในระยะก่อนและหลังเข้ารับการอบรมในโปรแกรมการสอนทักษะปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ระยะเวลา 1 วัน และเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการอบรม
รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 13 คน ที่เรียนในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลในสาขาที่เลือกสรร (ปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน) เนื้อหาการอบรมครอบคลุมในหลักการจัดการกับภาวะฉุกเฉิน (ABCs : Airway, Breathing, and Circulation) การใช้ยาในภาวะฉุกเฉินและความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่พบบ่อยในภาวะฉุกเฉิน รูปแบบการอบรมประกอบด้วยการสอนสาธิต สาธิตกลับ และจัดสถานการณ์จำลอง ประเมินผลลัพธ์โดยใช้แบบสอบถาม ได้แก่ แบบวัดความรู้ในการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (15 ข้อ) และแบบวัดการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (30 ข้อ) และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการอบรม (14 ข้อ) จากการศึกษาพบว่าผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินและการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ   (p < .001) และความพึงพอใจต่อการอบรมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (M = 64.93 คะแนน, SD = 5.30)  ผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจมากที่สุดและพึงพอใจมาก ร้อยละ 61.5 และ ร้อยละ 38.5 ตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการจัดอบรมในโปรแกรมการสอนทักษะปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ทำให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินและการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการปฏิบัติการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินเพิ่มขึ้น มีความพึงพอใจ และคาดว่าน่าจะนำไปสู่การปฏิบัติงานบนคลินิกได้มีความมั่นใจ ถูกต้อง เหมาะสม ดังนั้นจึงควรพิจารณาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบดังกล่าว ในการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
คำสำคัญ :  นักศึกษาพยาบาลปริญญาตรี  การพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน  ความรู้
              การรับรู้สมรรถนะของตนเอง  ความพึงพอใจ  สถานการณ์จำลอง


Abstract


Preparing readiness of nursing students for clinical practice is essential to enhance knowledge and self-efficacy as well as brings about effective nursing care and favorable outcomes of care. The aim of this study was to compare knowledge and self-efficacy in emergency nursing practice among nursing students before and after receiving one day training program for principal emergency nursing practice, and evaluate satisfaction with the training program. This is a comparative study included the sample of 13 fourth year nursing students who enrolled the course “Clinical Nursing Practicum in Selected Area: Emergency Nursing”. One day program was particularly established to enhance knowledge and self-efficacy in emergency nursing practice. The training program was composed of demonstration, return demonstration and clinical simulation including ABCs management, drug administration in emergencies, cardiac arrhythmia recognition, and simulated clinical scenario of emergent and traumatic patients. All participants had completely fulfilled questionnaires; 15 items multiple-choice questionnaire regarding knowledge of
emergency nursing practice, 30 items of self-efficacy for emergency nursing practice; and 14 items of satisfaction with the training program. After participating in the training program, the students had significantly higher knowledge (p < .001), and self-efficacy of emergency nursing practice (p < .001) than those before attending the program. The overall
satisfaction with the training program was extremely satisfied (61.5%), and highly satisfied (38.5%). In summary, one day training program for principal emergency nursing practice was effective to improve knowledge and self-efficacy in emergency nursing practice among the fourth year nursing students. Therefore, one day training program should be included in the undergraduate nursing curriculum to enhance knowledge and self-
efficacy in emergency nursing practice.
Keywords : undergraduate nursing students, accident and emergency nursing, knowledge, self-efficacy, satisfaction, simulated case scenario

Author Biographies

อรุณวรรณ อุดมเกษมทรัพย์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

อาจารย์  โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

สุภามาศ ผาติประจักษ์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

อาจารย์  โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

พิชญา ทองโพธิ์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 104

อาจารย์  โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย