ผลของการจัดโปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถในการบริหารมือด้วยตนเองต่อความรุนแรงของอาการและความสามารถ ในการใช้มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอก
คำสำคัญ:
Carpal Tunnel Syndrome, nursing service progra, symptoms severity, functional statusบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถในการบริหารมือด้วยตนเองต่อความรุนแรงของอาการและความสามารถในการใช้มือของผู้ป่วยกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่บำบัดแบบผู้ป่วยนอก
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือที่มารับบริการที่ ห้องตรวจศัลยกรรมกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับบริการตามกิจวัตร และกลุ่มที่ได้รับบริการพยาบาลตามโปรแกรม กลุ่มละ 20 ราย เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมบริการพยาบาลที่เสริมสร้างความรู้และความสามารถ
ในการบริหารมือด้วยตนเองสำหรับผู้ป่วยกลุ่มอุโมงค์ข้อมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบสอบถามบอสตันฉบับภาษาไทย ของ สิทธิพงษ์ อุปถัมภ์ และวิภู กำเหนิดดี (2008) ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ประเมินความรุนแรงของอาการ จำนวน 11 ข้อ และ ส่วนที่ 2 ประเมินความสามารถในการใช้มือ จำนวน 8 ข้อ และ 4) แบบประเมินความเจ็บปวดแบบตัวเลข 1-10 แบบสอบถามทุกฉบับผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และความเที่ยงของแบบสอบถามบอสตันในส่วนของแบบวัดความรุนแรงของอาการ เท่ากับ 0.90 และความสามารถในการใช้มือ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนควอไทล์ เปรียบเทียบความแตกต่างของสองกลุ่มด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามโปรแกรมมีความรุนแรงของอาการลดลง มีความสามารถในการใช้มือเพิ่มขึ้น และมีความเจ็บปวดน้อยกว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการตามกิจวัตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P< 0.01)
คำสำคัญ : กลุ่มอาการอุโมงค์ข้อมือ การจัดบริการพยาบาล ความรุนแรงอาการ
ความสามารถในการใช้มือ
Abstract
The purposes of this quasi-experiment research aimed to study the effects of a nursing service program on enhancing knowledge and ability of self-hand exercises on severity of symptoms and ability of hand functions among patients with carpal tunnel syndrome treated at the Out Patient Unit.
The sample in this study was 40 patients volunteer with carpal tunnel syndrome. They were divided into two groups equally: a control group gone through routine care and an experimental group attended nursing service program. This research four
instruments were: (1) nursing service program of enhancing knowledge and ability of
self-hand exercises for patients with carpal tunnel syndrome, (2) the general data form, (3) the Thai version of Boston questionnaires of Sitthipong Upatham and Wipoo
Kumnerddee (2008) consisted of two evaluations: severity of symptoms (11 items) and ability of hand functions (8 items), (4) numerical rating pain score (1-10). Content validities of all instruments were verified by five experts. Cronbach Alpha reliability was employed to test the Thai version of Boston questionnaire part 1 and part 2 ( 0.90 and 0.95). Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, median and inter-quartile and compare with Mann-Whitney U Test.
The results showed that the patients in the experimental group had statistically significant decreased of symptoms severity and pain score, increased of functional status and decreased pain score than the patients in the control group (P< .01).
Keywords :Carpal Tunnel Syndrome, nursing service program,
symptoms severity, functional status