การศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะ การจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ใหม่ วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก
คำสำคัญ:
Instruction, Development, Competencies, Novice Instructors, College of Nursing, Developmental needsบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการพัฒนาสมรรถนะการจัด
การเรียนการสอนของอาจารย์ใหม่ในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้ปฏิบัติงานในวิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก 4 แห่ง รวมจำนวน 49 คน เป็นผู้บริหาร 6 คน ผู้รับผิดชอบงานพัฒนาบุคลากร 4 คน อาจารย์พี่เลี้ยง 11 คน และอาจารย์ใหม่ 28 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 4 ชุด ตรวจสอบความครอบคลุมและความเหมาะสมของข้อคำถามจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มในระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2556 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าความถี่และร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ใหม่ในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันบรมราชชนก พบว่า การกำหนดสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นของอาจารย์ใหม่ยังขาดความชัดเจน มีหลักสูตรอบรมการจัดการเรียนการสอนเฉพาะอาจารย์ใหม่สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก มีระบบและรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ใหม่ที่เป็นแนวทางเดียวกัน ผลการพัฒนาอาจารย์ใหม่ยังไม่เป็นไปตามความ
คาดหวัง การติดตามและการประเมินผลขาดความชัดเจน และการใช้รูปแบบการสอนแบบสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ใหม่ที่แนวการปฏิบัติยังไม่ชัดเจน
ความต้องการการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ใหม่ พบว่า ควรมีการกำหนดสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนที่จำเป็นของอาจารย์ใหม่อย่างชัดเจน ควรมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนสำหรับฝึกอบรมอาจารย์ใหม่ที่สามารถดำเนินการได้ในวิทยาลัยตั้งแต่อาจารย์ใหม่ได้มาปฏิบัติงาน ควรมีระบบและรูปแบบการพัฒนาอาจารย์ใหม่ที่เป็นแนวทางเดียวกันโดยให้อาจารย์พี่เลี้ยงมีส่วนร่วมและมีคู่มือดำเนินการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ควรกำหนดสมรรถนะให้ชัดเจนและมีเวลาจัดฝึกประสบการณ์ด้านการเรียนการสอนและความเป็นครูที่มีความชัดเจนมากกว่าเดิม ควรมีการติดตามและประเมินผลอาจารย์ใหม่ที่มีความเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และทุกกลุ่มสนับสนุนให้มีการพัฒนากระบวนการใช้รูปแบบการสอนแบบสะท้อนคิดให้ชัดเจนและนำมาใช้ได้จริงเพื่อการพัฒนาอาจารย์ใหม่ได้ดีขึ้นอย่างมีมาตรฐาน ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการศึกษาหารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ใหม่ที่มีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ในแต่ละวิทยาลัย
คำสำคัญ : การเรียนการสอน การพัฒนา สมรรถนะ อาจารย์ใหม่ วิทยาลัยพยาบาล ความต้องการพัฒนา
Abstract
This qualitative study aimed to study the contexts and the needs of Instructional Competency Development for novice nursing instructors of nursing colleges under Praboromarajchanok Institute for Health Workforce Development (PIHWD). The samples were 49, including 6 institutional administrators, 4 human resource development persons,
11 mentors and 28 novice nursing instructors from 4 nursing colleges. The instruments were semi-structured interview and were content appropriately validated by 5 experts. The frequ
ency and percentages were used to analyze quantitative data and content analysis was used to analyze qualitative data.
The results, in terms of, the contexts of novice instructors development showed in many aspects which included: First, the determining the specific teaching and learning competencies of novice instructors were unclear. Second, each college had specific training program for novice instructors. Third, all colleges had the same system and model for novice instructors. Fourth, the results of the novice competency still did not meet the expected outcomes. Fifth, the monitoring and evaluation of novice instructor development were unclear. Last, reflective teaching model was used to improve teaching and learning competencies of novice instructors. However, there was still unclear of how to follow the guideline.
In addition, the aspect of the needs of instructional competencies development
for novice instructors, should include: First, the additionally expected performance required for the novice instructors. Second, nursing colleges should have a specific training program for novice instructors. Third, they should have the same system and model for novice instructor’s development involving the participation of mentors and the program guideline. Fourth, the program should have been defined competencies and been had the experience of training in teaching for being a teacher, clearly. Fifth, the program should have a novice nursing
instructor’s evaluation system that is substantial and continuing. Last, the samples gave a recommend and support to develop the process and clearer format, and make it possible to actual use. The researcher recommend that educators should develop the model to improve the teaching and learning competencies of novice instructors which is clarity and practical to use
Keywords : Instruction, Development, Competencies, Novice Instructors,
College of Nursing, Developmental needs