ผลของการพัฒนาค่านิยมในการเป็นข้าราชการที่ดี ของข้าราชการใหม่จังหวัดยะลา*

ผู้แต่ง

  • ปรียนุช ชัยกองเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • ศุภวรรณ สีแสงแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • อัจฉรา มุสิกวัณณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • อัจฉรา จั่นเพ็ชร์ สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
  • วราภรณ์ ศิวดำรงพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

คำสำคัญ:

attitude development, desirable role performing, newly posited officers

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาค่านิยมในการเป็นข้าราชการที่ดีของข้าราชการใหม่จังหวัดยะลา  ประโยชน์และการสร้างคุณค่าต่อคนในชุมชน  และผลกระทบจากการพัฒนาค่านิยมในการเป็นข้าราชการที่ดีที่มีต่อชุมชนหรือสังคม  เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการใหม่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเป็นข้าราชการที่ดี  ที่จัดโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา รุ่นที่ 3 จำนวน 60  คน  ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นของข้าราชการใหม่ 60 คน และผู้ร่วมงานของข้าราชการใหม่ 60 คน  รวม 180 คน  ผลการวิจัยพบว่า
    1.    การพัฒนาค่านิยมในการเป็นข้าราชการที่ดีของข้าราชการใหม่จังหวัดยะลาในทั้ง 4 ประเด็นหลัก ได้แก่  ด้านการสร้างวินัย  สร้างทีม  และความสามัคคีของข้าราชการ  ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกข้าราชการ  ด้านปรัชญาการเป็นข้าราชการ ประโยชน์ของแผ่นดินและบทบาทหน้าที่ของการเป็นข้าราชการ  และด้านการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ  กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่า ตนเองได้รับการพัฒนาค่านิยมอยู่ในระดับสูงทุกด้าน  และสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง
    2.    ผลการประเมินประโยชน์และการสร้างคุณค่าต่อคนในชุมชนโดยผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของข้าราชการใหม่มีความสอดคล้องกัน  โดยเห็นว่าตัวข้าราชการใหม่ได้รับการพัฒนาให้เข้าใจในระบบการทำงาน  และระเบียบวิธีปฏิบัติราชการที่ดี  นำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด  แต่ได้รับการพัฒนาในเรื่องความสามารถดึงภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานสาธารณสุขได้น้อยที่สุด  เช่นเดียวกันกับที่ให้ข้าราชการใหม่ประเมินตนเอง  
    3.    ผลกระทบจากการพัฒนาค่านิยมในการเป็นข้าราชการที่ดีที่มีต่อชุมชนหรือสังคมแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นคือ  1) ตัวข้าราชการเองได้รับประโยชน์คือ ได้เปลี่ยนแปลงมุมมองของตนในการทำงาน ทำให้เข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการมากขึ้น  2) หน่วยงานต้นสังกัดได้รับประโยชน์คือ ตัวข้าราชการใหม่มีความเข้าใจในระบบการทำงาน  และระเบียบวิธีปฏิบัติราชการที่ดี  มีผลให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3) ชุมชนหรือสังคมได้รับประโยชน์คือ  ผู้รับบริการมีความไว้วางใจบุคลากรและพอใจบริการที่ได้รับ  ส่งผลให้ดูแลตัวเองได้ดีขึ้น
 
คำสำคัญ : การพัฒนาค่านิยม  ข้าราชการที่ดี  ข้าราชการใหม่
 

ABSTRACT
    This research aimed to investigate and analyse the effects of: 1) attitude development for desirable role performing of newly posited officers in Yala Province, 2) benefit and value contribution for their societies, and 3) attitude implementation for themselves and persons related to their
responsibilities. A hundred and eighty informants that were comprised of three equal groups of newly posited officers who finished a short course for desirable role performing at Boromarajonani College of Nursing, Yala, junior supervisors, and colleagues were asked to complete a set of questionnaires and provide some qualitative data. The findings revealed that:
    1. The newly posited officers could develop four main aspects of attitudes for desirable role performing. These included: 1) discipline, team, and unity attitudes, 2) moral, ethic, and conscience attitudes, 3) philosophy and country benefit attitudes, and 4) country development attitudes.
The officers thought that all aspects of their attitudes had been developed to a high level and they could make use of those attitudes for their role performing.
    2. The supervisors and colleagues thought that the officers had been aware of desirable
official system and practice. They rated the effectiveness of their role performing with concerning about the systems and practices of the officers at the highest level. However, the supervisors and colleagues felt that the ability related to making use of the health networks of officers just had been developed at the lowest level as same as the officers thought.
    3. The newly posited officers could utilize their attitudes for themselves and persons related to their responsibilities in three aspects. There were: 1) the attitudes benefited officers’ role
performing; being aware of the attitudes led the officers to more understand what their clients wanted, 2) the attitudes benefited officers’ organisations; the understanding about systems and practices of
the officers led them to effectively complete their roles, and 3) the attitudes benefited officers’
societies; being trusted and satisfied with officers’ services guided their clients to better care for themselves.

Keywords : attitude development; desirable role performing; newly posited officers



Author Biographies

ปรียนุช ชัยกองเกียรติ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ



ศุภวรรณ สีแสงแก้ว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

อัจฉรา มุสิกวัณณ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

พิชญ์ชญานิษฐ์ เรืองเริงกุลฤทธิ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

อัจฉรา จั่นเพ็ชร์, สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

นักวิชาการชำนาญการพิเศษ สถาบันพระบรมราชชนก

วราภรณ์ ศิวดำรงพงศ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย