ปัจจัยทำนายเกี่ยวกับต้นทุนชีวิตต่อพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ในวัยรุ่นชายตอนต้น จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
Developmental asset, Appropriated sexual behaviors, Early Adolescentsบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ และปัจจัยด้านต้นทุนชีวิตที่สามารถทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของวัยรุ่นชายตอนต้น จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็น
นักเรียนวัยรุ่นชาย จำนวน 240 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบวัดพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของเยาวชนในสังคมไทย และแบบวัดต้นทุนชีวิตของวัยรุ่น ด้านพลังตัวตน พลังเพื่อน พลังสร้างปัญญา พลังครอบครัวและพลังชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยพหุเชิงเส้น (Multiple linear regression)
ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ของนักเรียนชาย อยู่ในเกณฑ์ค่าปกติ (ชาย
M = 96.18, SD = 5.94) ต้นทุนชีวิตด้านพลังตัวตน พลังเพื่อน พลังสร้างปัญญา พลังครอบครัวและพลังชุมชน อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ (67.9 % - 87.64 %) อย่างไรก็ตามต้นทุนด้านพลังชุมชนเป็นด้านที่มีระดับต้นทุนชีวิตต่ำที่สุด (67.9%) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ของวัยรุ่นชาย คือ อิทธิพลของพลังเพื่อนและกิจกรรม (β = .40) และอิทธิพลของพลังสร้างปัญญา (β = .26) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ ได้ร้อยละ 31 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2 adj = .31) จากผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า การสร้างความเข้มแข็งด้านปัญญา และการส่งเสริมให้วัยรุ่นมีกิจกรรมร่วมกับเพื่อน มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์
คำสำคัญ : ต้นทุนชีวิต พฤติกรรมทางเพศที่พึงประสงค์ วัยรุ่นตอนต้น
Abstract
This purpose of research was to study appropriated sexual behaviors and predictors related developmental asset of appropriated the sexual behavior for early male adolescents in Chon Buri province. The sample consisted of 240 male students studying in Mattayomsuksa level 2. The sample was selected by multi – stage sampling .The research instruments included socio-demographic data, appropriated sexual behavior of young people and developmental assets (internal asset, friend and activity asset, family asset, cognitive asset and community asset) questionnaires. Data were analyzed by descriptive statistics and multiple linear regressions. The results revealed that over all of appropriated sexual behavior of male students was in normal level (M = 96.18, SD = 5.94) and developmental assets including the internal asset, friend and activity asset, family asset, cognitive asset and community asset had been reported in standard score level (67.9 % - 87.64 %). However, community assets had
the lowest level (67.9%). The significant predictors of appropriated sexual behaviors were friend and activity influence (â = .40), cognitive influence (â = .26). These two predictors accounted for 31 percent of variance of the appropriated sexual behavior ( R2 adj = .31, p < .01). The results of this study suggest that strengthening cognitive assets and promoting activities with friends have important roles on appropriated sexual behaviors.
Keywords : Developmental asset; Appropriated sexual behaviors; Early Adolescents