ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่เป็นประจำของนักเรียนชาย วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี
คำสำคัญ:
Regular smoking, Male Vocational Students.บทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ
การสูบบุหรี่เป็นประจำของนักเรียนชายวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี โดยใช้แบบสอบถามที่ตอบคำถามด้วยตนเอง ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ แบบสอบถามทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ แบบสอบถามความผูกพันกับพ่อแม่ แบบสอบถามการรับรู้กฎหมายห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ และแบบสอบถามความยากง่ายในการเข้าถึงบุหรี่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชายอาชีวศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 (ปวช. 1) ถึง ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 (ปวช. 3) สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี จำนวน 236 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Binary Logistic Regression)
จากผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการสูบบุหรี่เป็นประจำ ร้อยละ 19.5 โดยพบว่า ปัจจัยที่มี
ความสัมพันธ์ต่อการสูบบุหรี่เป็นประจำของนักเรียนชายวิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดจันทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ (AOR = 4.46, 95% CI = 1.91-10.39) การมีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ (AOR = 12.48, 95% CI = 1.58-98.58) การมีพ่อแม่ยอมรับการสูบบุหรี่ (AOR = 4.58, 95% CI =1.89-11.13) และความผูกพันกับพ่อแม่ (AOR = 0.33, 95% CI = 0.15-0.70) ส่วนปัจจัยการสูบบุหรี่ของพ่อแม่ การรับรู้กฎหมาย การถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ การยอมรับการสูบบุหรี่ของเพื่อน และการเข้าถึงบุหรี่ ไม่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่เป็นประจำ
จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าพยาบาล และผู้เกี่ยวข้องควรพัฒนารูปแบบหรือโปรแกรม
การละเลิก การสูบบุหรี่ของนักเรียนหรือวัยรุ่นโดยให้เพื่อน ครู ผู้ปกครอง ครอบครัวและหน่วยงานต่าง ๆ
มีส่วนร่วมในการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อการสูบบุหรี่
คำสำคัญ : การสูบบุหรี่เป็นประจำ นักเรียนชายอาชีวศึกษา
Abstract
The purposes of this correlational research were to identify the prevalence of regular smoking and to examine factors related to regular smoking among male vocational students in Chanthaburi province. Data were collected with self-administered questionnaires consisting of a Personal Information Questionnaire, Smoking Behavior Questionnaire, Attitude toward Smoking Scale, Parental Bonding Scale, Perception of Smoking in Public Place Scale and an Accessibility to Cigarettes Scale. The samples were 236 male vocational students in Chanthaburi province, randomly selected by a multistage sampling tecnique. Statistics including mean, percentage, standard deviation and Binary logistic regression were used for data analysis.
The findings of the study demonstrated that the prevalence of regular smoking was 19.5%. The significant factors related to regular smoking among male vocational students were composed ofattitude toward smoking (AOR = 4.46, 95% CI = 1.91-10.39); peer smoking (AOR = 12.48, 95% CI = 1.58-98.58); parental approval (AOR = 4.58, 95% CI =1.89-11.13); parental bonding (AOR = 0.33, 95% CI = 0.15-0.70). Meanwhile, parent smoking, perception of smoking in public place, offering of smoking by friends, peer approval and accessibility to cigarettes were not related to regular smoking.
The findings suggested that to develop smoking cessation programs for adolescents, nurses and people involved should be concerned about cooperation from many parties, including peer, teachers, parents, families in order to change attitude toward smoking, and enhance family
relationship.
Keywords : Regular smoking; Male Vocational Students.