ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกายของคนพิการ ทางการเคลื่อนไหวในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • สร้อยสวรรค์ เกตุไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้อย 150/1 หมู่ 7 ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 17150
  • พรนภา หอมสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131
  • ยุวดี ลีลัคนาวีระ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

คำสำคัญ:

Factors, Physical Exercise, People with Mobility Impairment

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกกำลังกายและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย กลุ่มตัวอย่างคือคนพิการทางการเคลื่อนไหวในอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท จำนวน 250 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล (Point biserial correlation coefficient) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficients)
    ผลการวิจัย พบว่า คนพิการทางการเคลื่อนไหวมากกว่าร้อยละ 60 ใช้เวลาทำกิจกรรมเบาๆ เป็นประจำ ได้แก่ อ่านหนังสือ ดูทีวี เล่นเกมส์ หรือทำงานฝีมือรวมทั้งงานบ้านเบาๆ ส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 70 ทำกิจกรรมประเภทเล่นกีฬาเป็นบางครั้งหรือนานๆ ครั้ง ประมาณครึ่งหนึ่งทำกิจกรรมนอกบ้านเป็นบางครั้ง และเกือบทั้งหมดทำกิจกรรมที่เป็นการทำงานที่สร้างรายได้นานๆ ครั้ง โดยในการทำกิจกรรมประเภทเล่นกีฬาส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันในขณะที่การทำกิจกรรมที่บ้านส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยน้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่าการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย  ความมั่นใจตนเองในการออกกำลังกาย และแรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการออกกำลังกายของคนพิการทางการเคลื่อนไหวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  ≤” .05 (r = .400, r = .389, และ r = .374 ตามลำดับ) ผลการศึกษาจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้อง และการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาวิจัยเชิงทดลองโดยพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายให้คนพิการทางการเคลื่อนไหวต่อไป

คำสำคัญ : ปัจจัย   การออกกำลังกาย   คนพิการทางการเคลื่อนไหว


Abstract
    This study aimed to describe exercise behaviors, and to determine factors related to physical exercise. Participants were 250 mobility impairment volunteers at Sapphaya district, Chai Nat Province, selected by a simple random sampling technique. Data were analyzed by descriptive statistics, Point Biserial Correlation Coefficient, and Pearsons Product Moment Correlation coefficients.
    The results of the study showed that more than 60% of people with mobility impairment practice  light activities regularly, including reading, watching TV, playing computer games, making handcrafts or doing light housework. Most of them (70%) sometimes or seldom engaged in sports. About half of them sometimes did outdoor activities. However, almost all of them seldom worked to earn payment. On average, most of them spent more than 2 hours per day for sports, whereas spent less than 2 hours per day for household activities. Additionally, perceived benefits of exercise, perceived exercise self-efficacy to exercise and social support for exercise were statistically positively significant related to physical exercise (P < .05, r = .400, r = .389 and r = .374 respectively).  The study results would be useful for the basis for health-related personnel. This study suggested further study should be the development of the exercise pattern appropriated for Physical Disabilities.

Keywords : Factors;  Physical Exercise;  People with Mobility Impairment

Author Biographies

สร้อยสวรรค์ เกตุไทย, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้อย 150/1 หมู่ 7 ต.สรรพยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท 17150

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอ้อย   อำเภอสรรพยา  จังหวัดชัยนาท



พรนภา หอมสินธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้รับผิดชอบหลัก  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ยุวดี ลีลัคนาวีระ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 169 ถ.ลงหาดบางแสน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี 20131

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย