การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก

ผู้แต่ง

  • นันทพร บุษราคัมวดี ตึกอำนวยการ ข/1 100 สุวรรณศร ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก นครนายก 26000
  • ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์ ตึกอำนวยการ ข/1 100 สุวรรณศร ตำบลนครนายก อำเภอเมืองนครนายก นครนายก 26000

คำสำคัญ:

participated action research, A diabetic Caring Model, Diabetic Patient, Diabetic camp

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก  ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนตุลาคม  2552 ถึง เดือน ตุลาคม 2554

                การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะก่อนการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โดยการ ทบทวนวรรณกรรม การสังเกต การสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) ระยะการพัฒนารูปแบบการดูแล ผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขโดยการจัดค่ายเบาหวาน โดยศึกษา ในพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและการพัฒนา ศักยภาพการผู้ป่วยเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยการเสริมสร้างพลังอำนาจ  โดยการใช้ กระบวนการกลุ่ม  โดยศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน  60 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t- test และผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงแผนกผู้ป่วยในจำนวน 10 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและ 3) ระยะประเมินผลการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยไปใช้ และข้อมูล เชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

                ผลการวิจัย 1)จากสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า บุคลากรยังมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วย ไม่เพียงพอ ยังไม่มีรูปแบบในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ชัดเจน   จึงมีการพัฒนารูปแบบในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาศักยภาพบุคลากร  โดยการจัด ค่ายเบาหวานและการพัฒนาศักยภาพผู้ป่วยเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โดยการเสริมสร้าง พลังอำนาจโดยการใช้กระบวนการกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพมีความรู้และความพึงพอใจ ในการจัดค่ายเบาหวานในระดับสูง ส่วนการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเบาหวานแผนกผู้ป่วยนอก  โดยใช้ กระบวนการกลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับการเสริมสร้างพลังอำนาจ ผู้ป่วยเบาหวานแผนกผู้ป่วยใน โดยใช้กระบวนการกลุ่ม พบว่า ผู้ป่วยมีความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง สูง กว่าก่อนการทดลองและมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าก่อนทดลอง จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่าผู้ใช้ บริการและผู้ให้บริการมีความพึงพอใจในรูปแบบการดูแลผู้ป่วยในระดับมาก

                ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยให้เกิดระบบการดูแล ที่เหมาะสม กับผู้ป่วยโดยรวมและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ผู้ให้บริการ เกิดแนวทางการปฏิบัติ ที่ชัดเจนและเกิดเครือข่ายความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง

Abstract

                The  purpose  of  this  participated  action  research  was to develop a diabetic caring  model in  Nakhon  Nayok  Hospital  during  October 2552 to October 2554. The  research  process  was divided  into three  phases. Phase1 :a situation  analysis  which  analyzed  the situation before developing the caring system for diabetic patients by literature revises observation, in – depth  interview  and  focus group. Phase 2: a system development by developing  public  health  personnel  ability offering diabetic  camp, studied  in 40 nursing  professional  and using  empowerment  in  group  process  of out - patient  department (OPD) and  in – patient department (IPD), studied  in 30 diabetic  patients in control  group and 30 diabetic  patients in experimental group in OPD, studied  in 10 diabetic  patients  in OPD. Phase 3: a  model evaluation using  the diabetic  caring  model  The  data  were  collected  through  the  knowledge, self  - care  behaviors and fasting  blood  glucose; knowledge, self  - care  behaviors   questionnaire  were  designed  by  Amornrat  Prasertthaicharoen. The  statistical  devices  used  in  data  analysis  were  frequencies, percentage, means, standard  deviations,  t – test  and content  analysis.

                The  research  results  were 1.from  diabetic  patient  care  situations  found  that  personnel  didn’t  have  enough  knowledge  to  take  care  of  the  patients. There  was  no  pattern  to  provide  data  about  the  disease  and self – care behaviors. Therefore; developing the Diabetic Caring  Model  ,include  nursing  professional  development  by  diabetic  camp  and  using  empowerment  in  group  process in diabetic  patient in OPD and IPD. The  research  found  that  nursing  knowledge  and  satisfaction  in  diabetic  camp  were  high. Moreover, using  empowerment  in  group  process in OPD found  that  patient  knowledge  and  self – care  behaviors  were  higher  than  before  the  trial, and  higher  than  the  control  group at .05 significant  statistical  level. Fasting  Blood  sugar  was  lower  than  before  the  trial  and  less  than  the  group  control  which  didn’t  have .05 significant  statistical  level. Using  empowerment  in  group  process in IPD found  that knowledge, self – care  behaviors  and blood  sugar  after  the  trial  was  higher  than  before  the  trial. and Fasting Blood  Sugar  after  the  trial  was  lower  than  before  the  trial. From in – depth  interview  found  that  both  the  service  user  and  the  service  providers  were  satisfied  with  the  Diabetic Caring  Model 

                The  result  of  the  research  showed  that  a diabetic  caring  model enhance  the  appropriate  care  system  and  the  self-care behaviors. The  service  provider  has  an  explicit  operating  guideline  and  network  to  take  care  of  the  patients  continuously.

เผยแพร่แล้ว

2012-10-13

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย