การพัฒนาแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์โดยการกำหนดเกณฑ์ การประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน

ผู้แต่ง

  • วัจมัย สุขวนวัฒน์ ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • ดวงหทัย ศรีสุจริต ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • จิรภัค สุวรรณเจริญ ภาควิชาการพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Nursing performance assessment forms, scoring criteria, scoring rubrics

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและ การผดุงครรภ์โดยการกำหนดเกณฑ์การประเมินและเกณฑ์การให้คะแนน ใช้กลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเลือกแบบ เจาะจงจากนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ชั้นปีที่  3  ภาคเรียนที่ 3  ปีการศึกษา  2551  จำนวน  118  คน ซึ่งฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกฯ1 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ แบบประเมินปฏิบัติการพยาบาล มารดา ทารกในระยะตั้งครรภ์ แบบประเมินปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกในระยะคลอด  และแบบประเมินปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกในระยะหลังคลอด โดยหาคุณภาพของแบบประเมิน ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง ค่าอำนาจจำแนก ความเชื่อมั่นของเกณฑ์ การให้คะแนนระหว่างผู้ประเมิน 2 คน และความเชื่อมั่น สร้างเกณฑ์ปกติ และคู่มือการใช้แบบประเมิน การปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกฯ ด้วยการใช้สถิติดัชนีความสอดคล้อง (index  of  item-objective
congruence: IOC) การทดสอบที (t-test) สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s  product-moment correlation  coefficient) และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha  coefficient) 

                ผลการศึกษา พบว่า ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหามีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.82- 0.86 ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า คะแนนรายข้อมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมในแต่ละฉบับอย่างมี  นัยสำคัญทางสถิติ (r= 0.391-0.895, p < .05) และคะแนนรายฉบับมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (r= 0.747, 0.628 และ 0.533 ตามลำดับ, P < .01) อำนาจจำแนกรายข้อพบว่า ทุกข้อ ทุกฉบับมีอำนาจจำแนกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (t= 3.716- 18.310, p < .05) ความเชื่อมั่นของเกณฑ์ การให้คะแนนระหว่างผู้ประเมิน 2 คน พบว่า สัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r= 0.512- 0.950, p < .05) ความเชื่อมั่นของแบบประเมิน พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.978, 0.866 และ0.857 ตามลำดับ เกณฑ์ปกติของแบบประเมินทั้ง 3 ฉบับมีค่าคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T 45.44 ถึง T 51.74, T 55.94 ถึง T 65.13 และ T 46.52 ถึง T 54.39 ตามลำดับ จึงสรุปได้ว่า แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารก ฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความเชื่อมั่นที่เชื่อถือได้ สามารถนำไปใช้ประเมินความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาล  มารดา ทารก และการผดุงครรภ์ของนักศึกษาโดยดำเนินการตามคู่มือการใช้เครื่องมืออย่างเคร่งครัด และมีการทำความเข้าใจในแนวทางการใช้เครื่องมือร่วมกันระหว่างผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน  ทำให้การประเมินการปฏิบัตินั้นได้เป็นไปอย่างยุติธรรมมีคุณภาพ

 

Abstract

                The purpose of this study was to develop performance assessment forms for nursing students in the areas of Maternal-Child Nursing and Midwifery using scoring criteria and scoring rubrics. One hundred eighteen nursing students were recruited from Boromarajonani college of  Nursing, Suratthani studying Maternal  and  Newborn Nursing  and  Midwifery  Practicum  I.  Students were assessed using performance forms while they were engaged in the following stages of Maternal-Child Nursing: the pregnancy period, the intrapartum period, and the postpartum period. The instruments  were  validated for  quality  in  terms  of  content  validity,  construct  validity, discriminative power, scoring-criterion reliability and reliability. Norms were constructed, as were manuals of performance assessment form of Maternal - Child and Midwifery Nursing. The data were analyzed using content analysis, descriptive statistics , the index  of  item-objective  congruence (IOC),  t-test, the Pearson’s  product-moment correlation  and the alpha coefficient. 

                The results of this study revealed that the content validity on the basis of index of item-objective congruence was 0.82 - 0.86. The construct validated by correlation analysis of item scores versus total scores was statistically significant for all item (r= 0.39 - 0.90, p <.05) and correlation analysis of section scores versus total scores was statistically significant for all forms (r= 0.75, 0.63 and 0.53, respectively,
p < .01). The item discriminative power by t-test was statistically significant (t = 3.72 - 18.31 p < .05). The scoring – criterion reliability by correlation analysis of the scores from the researcher and joint assessor was statistically significant for all items (r = 0.51 - 0.95, p < .05). The Alpha coefficient = 0.98, 0.87 and 0.86 respectively. The normalize T – score for the  norms  of  the  three  assessment  forms  were  as follows:
T 45.44 - T 51.74 , T  55.94 – T  65.13 and     T 46.52 - T 54.39, respectively. These  results  suggest  that the quality of  the performance  assessments, used in  this  study, both it validity and  reliability  could  be  used  to  assess the students’ performance in their  maternal and newborn nursing and midwifery practicum.  Moreover, the assessors and students need to fully understand the performance assessment forms in order to gain fairly and effectively assessment of  student performance.

เผยแพร่แล้ว

2012-10-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย