การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังการเข้าสู่ระบบหอพักภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก

ผู้แต่ง

  • วาสนา นัยพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก 371/6 ถ.ราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

คำสำคัญ:

creativity, nursing students, dormitory system, military discipline.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทางสมองที่สำคัญยิ่งของมนุษย์ ที่ช่วยส่งเสริมความเจริญ ก้าวหน้าของสังคมและประเทศ  นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 เป็นวัยรุ่นที่มีความคิดสร้างสรรค์มากน้อย แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อม การเข้าอยู่ในระบบหอพักภายใต้ ระเบียบวินัยทางทหาร อาจมีผลต่อระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนพยาบาลโดยเฉพาะในช่วง
1 เดือนแรกของการปรับตัว การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบติดตามไปข้างหน้า (prospective study) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 ก่อนและหลังเข้าสู่ระบบหอพัก ภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร ผู้วิจัยสุ่มนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 อย่างง่าย จำนวน 80 คน ตามสูตรคำนวณของ Yamane ให้ตอบแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .95 เป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 77 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน คือ (1) ด้านความอยากรู้อยากเห็น (2) ด้านจินตนาการประสานความคิด (3) ด้านการแก้ปัญหา และ (4) ด้านความมุ่งมั่นพยายาม ในวันแรก และ 1 เดือนต่อมาหลังจากเข้าสู่ระบบหอพักภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร และให้นักเรียนพยาบาลเขียนบรรยาย ความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระต่อระบบหอพักภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยสถิติพรรณนาและ สถิติอ้างอิง pair t-test

                ผลการวิจัยพบว่า ก่อนเข้าสู่ระบบหอพัก นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 มีความคิดสร้างสรรค์ โดยรวม และรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง และหลังจาก 1 เดือน นักเรียนพยาบาลมีความคิดสร้างสรรค์ โดยรวม
และรายด้านทั้ง 4 ด้านสูงกว่าก่อนเข้าสู่ระบบหอพัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001, .001, .05, .05 และ .001 ตามลำดับ โดยด้านที่เพิ่มขึ้นสูงที่สุด และมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง คือ ด้านความมุ่งมั่น พยายาม (M=3.81, SD=.40) แต่เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ามีบางข้อที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น “เมื่อเกิด ข้อสงสัยฉันจะต้องหาคำตอบให้กับข้อสงสัยโดยไม่ปล่อยให้ผ่านเลยไป” และฉันต้องเห็นข้อพิสูจน์ว่า เป็นเหตุเป็นผลก่อนที่จะเชื่อคำบอกเล่าของใคร

                โดยสรุปนักเรียนพยาบาลมีความคิดสร้างสรรค์โดยรวมและรายด้านสูงขึ้นในห้วง 1 เดือนแรกของ การเข้าสู่ระบบหอพักภายใต้ระเบียบวินัยทางทหาร ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากระบบดังกล่าวได้รับการพัฒนามา
ตามลำดับที่มุ่งสู่การใช้เหตุและผลมาอธิบายการกระทำ และมีการปลูกฝังวินัยและธรรมเนียมปฏิบัติ ที่ส่งเสริมแนวคิดเชิงบวกที่นำไปสู่การคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตามมีบางข้อที่ลดลง จึงควรมีการศึกษาต่อไป เพื่อค้นหาองค์ความรู้เชิงประจักษ์และสามารถนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสถาบันการศึกษาพยาบาลอื่นๆ ที่สนใจที่อาจนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสถาบันต่อไป

 

Abstract

                Creative thinking is one of the most important abilities of human’s brain that can help increasing the societal and national development. Adolescent freshman nursing students’ creative thinking levels are varying depending on personal factors, and different environment. The system may have an impact on the freshman students’ creative thinking during the very first weeks that they deal with the lives’ changes in particular. This study was a prospective study that aimed to explore the creative thinking of freshman nursing students, and compare the creative thinking one month before and after enrolling to the dormitory system under military discipline. The data were collected from eighty simply randomly selected samples based on Yamane sampling method. The instrument used in this research was the five rating-scales questionnaire from the Department of Mental Health, Ministry of Public Health, with its reliability of .95, including77 items within 4 parts as follows: 1) curiosity, 2) imagination, 3) problem solving, and 4) endeavor. The data were collected on the first day of stay and one month after enrolling to stay in the college dormitories. The informants were also asked to freely write their own opinions and
recommendations toward the system. The data were analyzed by means of the descriptive statistical method and a pair t-test.

                The findings showed that the freshman students had moderate levels of creative thinking in each and overall aspects of study on the first day of stay while, the overall and each part of creative thinking scores after one month of stay in the dormitory was statistically higher at the significant levels of .001, .001, .05, .05 and .001, respectively. The part that showed highest increasing score was endeavor part with its mean score in the high level (M=3.81, SD=.40). However, when considering individual item, it was found that some items showed significantly decreasing score, for instance, “when feeling suspicious, I must find out the answer without letting it goes” and I must prove its rationale before believing in ones telling

                It was concluded that freshmen nursing students had higher creative thinking level in overall and each part of aspects after one month of stay in the dormitory. This may be because the system has
periodically been developed with the aim to focus on logical conducts. It has cultivated disciplines that well support students’ positive thinking leading students’ creative ability. However, there were decreasing scores of some items. Therefore, the further study is needed to elaborately discover more about the effect of the dormitory system on the students’ thinking ability and the research findings should be learned and shared with other nursing institutions who may interested in its implication suitable for each individual circumstance.

 

เผยแพร่แล้ว

2012-10-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย