ผลของโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะต่อความมีจิตสาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
คำสำคัญ:
Service, mind Happiness, Nursing studentบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ปัจจุบันสังคมมีภาวะวิกฤตเยาวชนส่วนใหญ่ยึดความเจริญทางวัตถุและเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
มากขึ้น ความมีจิตสาธารณะสำคัญอย่างยิ่งต่อวิชาชีพการพยาบาล สถาบันการศึกษาด้านการพยาบาล ควรจัดให้นักศึกษาได้สัมผัสความรู้สึกของการเป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ส่งผลให้นักศึกษาเปลี่ยน วิธีคิดและเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง อีกทั้งเกิดพลังอาสาสมัครด้านจิตสาธารณะต่อสังคม ก่อให้เกิด การพัฒนาความมีจิตสาธารณะในการเป็นพยาบาลที่ดีต่อไป การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความมีจิตสาธารณะและความสุขของนักศึกษาพยาบาลจำนวน 1 กลุ่ม ก่อนและหลังเข้าร่วม โปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-3 ที่กำลังศึกษาในภาคการศึกษาที่ 3 จำนวน 72 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ “วพบ.สระบุรี สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อสังคม” ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับความมีจิตสาธารณะของสถาบันพระบรมราชชนก และแบบสอบถาม เกี่ยวกับความสุขของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีค่าความเที่ยง สัมประสิทธิ์ แอลฟาของ ครอนบาค (Cronbach,alpha coefficient) เท่ากับ .93 และ .85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) พบว่าหลังเข้าร่วมโปรแกรม การพัฒนาจิตสาธารณะในโครงการ “วพบ.สระบุรี สร้างสรรค์สิ่งดีเพื่อสังคม” นักศึกษาพยาบาล มีคะแนนเฉลี่ยของความมีจิตสาธารณะ และคะแนนเฉลี่ยของความสุขสูง กว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 คือ จาก 3.64 เป็น 4.01 และ 31.47 เป็น 35.41 ตามลำดับ
สถาบันการศึกษาควรจัดกิจกรรมให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้านจิตสาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีจิตสาธารณะ ต่อสังคมและประเทศชาติ งานวิจัยนี้ให้ข้อค้นพบว่านักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาจิตสาธารณะมีคะแนนจิตสาธารณะและความสุขสูงกว่าก่อนการร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ควรมีการติดตามผลของโปรแกรมในระยะยาว
ABSTRACT
BACKGROUND:
OBJECTIVES:
This study investigated the effects of a public consciousness development program on service mind and happiness of nursing students at Borommarajonani College of Nursing, Saraburi,Thailand (BCNS).
METHODS:
This study was a one group pre-post test design. The purposive samples comprised of 72 who were first, second, and third year nursing students enrolled in the third semester of 2008. Allparticipants were volunteers to the BCNS created goodness for society’s program between February to May 2008. The public consciousness questionnaire developed by Borommarajanok institute and
happiness questionnaire developed by the department of The Thai Mental Health were used to assess level of service mind and happiness. Cronbach’s Alpha coefficient reliability was 0.93 and 0.85, respectively. Data were analysed by utilized percent, mean, standard deviation, and dependent t-test.
RESULTS:
The findings showed significantly increasing of mean scores of service mind (3.64 to 4.01) and happiness (31.47 to 35.14) after participating with the BCNS created goodness for society’s program(p-value=0.001)
CONCLUSIONS:
Results showed the effectiveness of this public conscious development program on service mind and happiness of nursing students. Nursing schools should consider implementing this program regularly. However, further longitudinal study is recommended to investigate the sustainability of these outcomes. Nowadays, society has been changed specifically among youths tends to be more materialistic and egotistical. It changes lead to make service mind being an important issue in nursing profession. Therefore, nursing schools should provide extra opportunities for students in experiencing public services and volunteers in order to develop service mind.