การพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก

ผู้แต่ง

  • รัชนีพร ไชยมิ่ง กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

คำสำคัญ:

การวัดและประเมินผล, มาตรฐานผลการเรียนรู้, Measure and evaluation, Standard of Learning Outcomes

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) วิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก เพื่อใช้ในการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน ประกอบด้วย
1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ 6) ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 3 ครั้ง เพื่อจัดทำเครื่องมือ รวมถึงปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และทดลองใช้กับนักศึกษา
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ (สาธารณสุขชุมชน) ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2557 ของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก จำนวน 70 คน ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct validity) โดยการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างคะแนนรายข้อกับคะแนนทั้งฉบับ (item-test
correlation) ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product-moment correlation coefficient) หาค่าอำนาจจำแนกโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ด้วยค่าที (t-test) และหาค่าความเชื่อมั่นแบบความคงที่ภายใน (Internal consistency reliability) ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค
    ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น มีจำนวน 139 ข้อ ประกอบด้วย มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 22 ข้อ ด้านความรู้ จำนวน 17 ข้อ ด้านทักษะทางปัญญา จำนวน
17 ข้อ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ จำนวน 17 ข้อ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 14 ข้อ และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ จำนวน 52 ข้อ 2) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือพบว่า เครื่องมือมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา
(Item-objective congruency Index: IOC) ตั้งแต่ 0.6-1.0  ค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 13 ข้อ และระดับ .01 จำนวน 126 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นแบบความคงที่ภายใน พบว่ามีค่าความเชื่อมั่น ด้านคุณธรรมจริยธรรม 0.75 ด้านความรู้ 0.69 ด้านทักษะทางปัญญา 0.74 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 0.83 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 0.71 และด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ 0.97 โดยเครื่องมือวัดและประเมินผลฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ มีความเชื่อถือได้ และสามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ

คำสำคัญ : การวัดและประเมินผล  มาตรฐานผลการเรียนรู้

    Abstract

The study involved the development of tools used to measure and evaluate learning
outcomes suggested by the Thai Qualification Framework for Higher Education regarding
the bachelor program of public health (community public health), colleges under Proboromarajchanok Institute. The tools were used to evaluate 6 domains of learning outcomes, including; 1) ethics and moral, 2) knowledge, 3) cognitive skills, 4) inter-personal skills and responsibility, 5) communication, information technology and numerical skills, and 6) professional practice skills. The study was started with 3 workshops aimed to develop tools, and the tools were tried out among 70 public health students (year 1-4) of Sirindhorn College of Public Health. The tools’ content validity and construct validity was reviewed by 5 experts. The item-test correlation was examined by Pearson’s
product-moment correlation coefficients. Discrimination power was tested by t-test. Internal
consistency reliability was examined by Conbrach’s alpha co efficient.
    The findings revealed that, the developed tools consisted of 139 items, including 22 items for ethics and moral, 17 items for knowledge, 17 items for cognitive skills, 17 items for inter-personal and responsibility, 14 items for communication, information technology and numerical skills, and 52 items for professional practice skills. Regarding psychometric properties, the tools’ item-objective
congruency index: IOC was 0.6-1.0; the construct validity was confirmed at .05 (13 items) and at .01 (126 items). Also, internal consistency reliability of each domain was good as followed; .75 for ethics and moral, .69 for knowledge, .74  for cognitive skills, .83 for inter-personal and responsibility, .71 for communication, information technology and numerical skills, and .97 for professional practice skills. Conclusively, the developed tools are considered qualified, reliable and practical tools.
 
Keywords : Measure and evaluation,  Standard of Learning Outcomes





Author Biography

รัชนีพร ไชยมิ่ง, กลุ่มพัฒนาการศึกษา สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  สถาบันพระบรมราชชนก

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย