ผลของการจัดการเรียนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ปิยะนุช ชูโต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • ศรีมนา นิยมค้า คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • จันทร์ฉาย โยธาใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนแบบผสมผสาน, สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, การฝึกปฏิบัติการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล, Blended Learning, Information technology competency, nursing practice, nursing students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่มี
ต่อสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2555 ที่ได้ลงทะเบียนในกระบวนวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลรวบยอด (สูติกรรม กุมารเวชกรรม และออร์โธปิดิส์) จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้มี  3 ส่วนคือ 1) แผนการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน 2) แบบวัดสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อประสมของเจ้าหน้าที่/บุคลากร หรือ ผู้ป่วย/ญาติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test
    คะแนนเฉลี่ยของสมรรถนะด้านความรู้และสมรรถนะด้านทักษะหลังทำกิจกรรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญ (p<.01 และ .001 ตามลำดับ) แต่สมรรถนะด้านทัศนคติก่อนและหลังทำกิจกรรมไม่มีความแตกต่างกัน (p=.052) อย่างไรก็ตามสมรรถนะรวมของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหลังทำกิจกรรมยังคงมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญ (p<.003)

คำสำคัญ : การจัดการเรียนแบบผสมผสาน  สมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  การฝึกปฏิบัติการพยาบาล

นักศึกษาพยาบาล


Abstract
    This research aimed to examine the effect of blended learning on information technology competency among the fourth year of nursing students. Subjects were the fourth year 17 students nursing students who enrolled the comprehensive nursing practice in the academic year 2012 (Obstertric, Pediatrics, and Orthopedic). The instrument composed of 3 threes questionnaires: 1) Lesson plan for blended learning which developed by the researcher, 2) Information technology competency
questionnaire, and 3) Satisfaction of using multi-media among personnel/staff or patient/relative. Data were analyzed by descriptive statistics and t-test.
    The results of study revealed that the score of knowledge and skill competences after
the course were statistically significant higher than before (p<.01 and .001 respectively). The score of attitude competency after the course were not significant different from before the class (p=.052).
In addition, the total score of information technology competency after the class was statistically significant higher than before (p<.003).

Keywords : Blended Learning,  Information technology competency,

nursing practice,  nursing students

Author Biographies

ปิยะนุช ชูโต, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

รองศาสตราจารย์   คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศรีมนา นิยมค้า, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จันทร์ฉาย โยธาใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

อาจารย์  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย