ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถ ในการใช้กระบวนการพยาบาลของ นักศึกษาพยาบาล รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1

ผู้แต่ง

  • มารศรี จันทร์ดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
  • พนิดา พาลี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
  • พิมลพรรณ เนียมหอม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
  • ภัทรานิษฐ์ จองแก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180
  • ทิพย์สุดา เส็งพานิช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

คำสำคัญ:

การเรียนการสอน, กรณีศึกษา, กระบวนการพยาบาล, Teaching and Learning, Case study, Nursing Process

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา ต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่  รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่ฝึกปฏิบัติรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม-29 เมษายน 2555  จำนวน 96 คนโดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นกลุ่มทดลอง 48 คน กลุ่มควบคุม 48 คน กลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง ก่อนการฝึกปฏิบัติ และกรณีศึกษาสถานการณ์จริงขณะฝึกปฏิบัติจากผู้วิจัยและอาจารย์พยาบาลเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจะได้รับการสอนตามปกติจากอาจารย์พยาบาล   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยกรณีศึกษา สถานการณ์จำลอง แบบประเมินความสามารถของนักศึกษาพยาบาลต่อการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนกระบวนการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษา เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาพยาบาลจำนวน 3 ท่าน และหาความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.91 เท่ากัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ไคสแควร์ สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และใช้สถิติ  Student’s t-test สำหรับ ข้อมูลต่อเนื่อง คำนวณคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษา และใช้สถิติ One-way ANCOVA  เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษารายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุภาพ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง
ผลการวิจัย พบว่า    
    1.    ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 หลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษา สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .05 )
    2.    ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)
    3.    ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนกระบวนการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษาทั้งสถานการณ์จำลอง และสถานการณ์จริง พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกข้อ ( = 4.05) สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ นักศึกษาได้ใช้ศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
( = 4.28)  นักศึกษาได้ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผล ( = 4.24) และนักศึกษามีความมั่นใจที่จะนำความรู้เรื่องที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้  นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้จากวิชาต่างๆมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหา  โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากันทั้ง 2 ข้อ ( = 4.17)

คำสำคัญ :  การเรียนการสอน  กรณีศึกษา  กระบวนการพยาบาล

Abstract
    This quasi-experimental research aimed to study  the  effect of  teaching by case study on  nursing  process  ability of nursing  students  in nursing  care of persons with Health Problems  Practicum I . Participants consisted of 96 second-year nursing students studying the Nursing Care of Persons with Health Problems  Practicum I . These students were divided into two groups by purposive sampling. Participants in the intervention group (n=48) received training in applying the nursing process to the nursing care of persons with health Problems Practicum I by case-based learning
(simulation and actual patient cases). The  control group (n = 48)  received traditional  lecture-based teaching  methods. Research tools included case studies and nursing student satisfaction assessment form. The research instrument was approved for its validity by the experts in the field. The reliability tested by Cronbach’s  alpha coefficient was 0.91. Data were analyzed as followed.  Base-line
characteristics of participants in the intervention and control  groups were compared using chi-square test  for categorical variable and  student’s   t- test for continuous variables. A  series  of one – way analysis of covariance (ANCOVA; with base-line scores as covariates) was conducted on Time 2 data (posttest) to identify any significant between group difference on the scores of nursing  students abilities on  nursing process in Nursing care   of persons with Health Problems  Practicum I.
    The results showed as followed. The mean scores of Nursing student abilities on nursing  process in nursing care of persons with Health Problems  Practicum I after  the teaching by case study were statistically significant higher than mean scores that of before intervention (p < .05). The mean scores of Nursing student abilities on nursing Process of the experimental group after received
the teaching by case study  were statistically significant higher than the control group (p < .05).
The nursing student satisfaction of teaching by case study on nursing process were at a high level ( = 4.05).  The most three students satisfactions were 1) the chance to show their abilities ( = 4.28), 2) the critical thinking practice, and 3)  having self -confident in using knowledge to situated adaptation and to solve Problem (=4.17), respectively.
 
Keywords : Teaching and Learning,  Case study,  Nursing Process





Author Biographies

มารศรี จันทร์ดี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการเรียนการสอน )

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

พนิดา พาลี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการเรียนการสอน )
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

พิมลพรรณ เนียมหอม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการเรียนการสอน )

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

ภัทรานิษฐ์ จองแก, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการเรียนการสอน )

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

ทิพย์สุดา เส็งพานิช, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่ 201 ม. 4 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการเรียนการสอน )

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย