ผลของโปรแกรมสร้า งความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียด และภาวะซึมเศร้าในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • นพภัสสร วิเศษ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • วิภา เพ็งเสงี่ยม คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐
  • สิริกร สุธวัชณัฐชา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, ความเครียด, ภาวะซึมเศร้า, โปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจ, Adolescents, Stress, Depression, Resilience enhancement program

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจต่อความเครียดและภาวะซึมเศร้าในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 75 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนนายกวัฒนากร (บ้านนา) จังหวัดนครนายก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนมิถุนายน – ตุลาคม พ. ศ 2556  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจ และแบบสอบถามความเครียดและภาวะซึมเศร้า ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคของแบบวัดความเครียดเท่ากับ .94 และแบบวัดภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 0.81 การดำเนินการวิจัยเริ่มจากประเมินระดับความเครียดและภาวะซึมเศร้า จากนั้นดำเนินการตามโปรแกรม 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 การฝึกคิดทางบวกและคุณค่าแห่งตน ครั้งที่ 2 มองโลกในแง่ดีและเข้าใจอารมณ์และความเครียด ครั้งที่ 3 เข้าใจอารมณ์และความเครียดและเรียนรู้ภาวะซึมเศร้า ครั้งที่ 4 ทักษะการแก้ปัญหาและการจัดการกับภาวะอารมณ์ต่างๆ ใช้ระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงวัดความเครียดและภาวะซึมเศร้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (paired
t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
    ผลการวิจัยพบว่า 1) ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยความเครียดเท่ากับ 16.22 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 16.16)  ค่าเฉลี่ยซึมเศร้าเท่ากับ 19.43 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.19) หลังการทดลอง 1 เดือนค่าเฉลี่ยความเครียดเท่ากับ 16.23 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.30) ค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 21.39 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 17.22) หลังเข้าร่วมโปรแกรม 1 เดือนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.05)   2) หลังโปรแกรม 3 เดือน ค่าเฉลี่ยความเครียดเท่ากับ 8.11 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.51) ค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าเท่ากับ 14.11 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.70) หลังเข้าร่วมโปรแกรม 3 เดือนไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.05)
    ข้อเสนอแนะ ควรเพิ่มระยะเวลาในการดำเนินการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความเข้มแข็งทางใจ
จากนั้นนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบใหม่กับผลลัพธ์ที่ศึกษาในระยะเวลาเดิม

คำสำคัญ : วัยรุ่น  ความเครียด  ภาวะซึมเศร้า  โปรแกรมสร้างความเข้มแข็งทางใจ


Abstract
    This quasi-experimental research aimed  to study effects of Resilience Enhancement Program on: 1) stress,  and 2) depression among junior high school students. Samples were seventy-five junior high school students of Nayokwattanakorn (Banna), Nakhonnayok province, were purposive selected during June to October 2013. The 3 research instruments were : 1) the Resilience Enhancement Program, 2)  the Stress Questionnaire, and 3) Depression Questionnaire. These instruments were tested for content validity and the reliability by Cronbach’s alpha coefficient of stress was .94 and depression was .81. The Stress test-20 Mental health Department and the Children’s Depression Inventory (CDI) were used for measurement before the experiment. The Subjects received the resilience enhancement program four times, one session a week for four weeks included 1) Positive thinking skill 2) Optimism skill 3) Coping skill and 4) Problem solving skill. Post tests were measured at the 4th time. The obtained data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and paired t-test at a statistically significant level of .05.    
    The results were as followed.  Before the program, the mean score of stress was 16.22 (SD 16.16) and the mean of depression score was 19.43 (SD= 15.19). After 1 month of receiving resilience enhancement program, the mean score of stress was 16.23 (SD =15.30), and the mean of depression score was 21.39 (SD =17.22) with no statistical different (p = 0.05). After 3 months of receiving resilience enhancement program, the mean score of stress was 8.11 (SD =3.51) and the mean of
depression score was 14.11 (SD= 11.70), with no statistical different (p = 0.05).
    Therefore, this study recommended that further research should extend more time in
participating resilience enhancement program for greater effectiveness, and compare new results with a previous one.

Keywords : Adolescents, Stress, Depression, Resilience enhancement program



Author Biographies

นพภัสสร วิเศษ, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

วิภา เพ็งเสงี่ยม, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

สิริกร สุธวัชณัฐชา, คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เลขที่ ๑ ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง ๑๔) หมู่ที่ ๖ ต.บึงศาล อ.องค์รักษ์ นครนายก ๒๖๑๒๐

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา นครนายก

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย