ประสิทธิผลโปรแกรมพั ฒนาจิตเพื่อลดความเครียดในนิสิตพยาบาล ที่เตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น1ของสภาการการพยาบาล

ผู้แต่ง

  • สุกิจ ทองพิลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
  • ประไพจิตร โสมภีร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230

คำสำคัญ:

โปรแกรมพัฒนาจิต, ความเครียด, นิสิตพยาบาล, Mental Development Program, Stress, Nursing student

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาจิตเพื่อลดความเครียดของนิสิตพยาบาลในการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้น 1 ของสภาการพยาบาล ประชากรคือนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา2555 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ ที่เข้าร่วมโปรแกรมพัฒนาจิตโดยใช้การฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ ครั้งละ
60 นาที ห่างกันครั้งละ 1สัปดาห์ สิ้นสุดโปรแกรมจนครบ 8 สัปดาห์  เก็บรวบรวบข้อมูลในเดือนมกราคม 2556 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stress Test-20) กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระดับการประเมินตั้งแต่ 1 ถึง 5 ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน  3 ท่าน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความระดับความเครียดก่อน
และหลังเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้สถิติการทดสอบ paired t-test
    ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 59 คน (ร้อยละ 92.1) อายุ 22 ปี จำนวน 51 คน (ร้อยละ 76.9) อายุเฉลี่ย 21.8 ปี คะแนนเฉลี่ยสะสม 2.50 – 2.99 จำนวน 33 คน (ร้อยละ 51.6) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยความเครียดโดยรวม เท่ากับ (=2.56, S.D. =0.76) อยู่ในระดับ ปานกลาง และภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมค่าเฉลี่ยความเครียดโดยรวม เท่ากับ (=2.06, S.D. = 0.83)
อยู่ในระดับ น้อย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)

คำสำคัญ : โปรแกรมพัฒนาจิต  ความเครียด   นิสิตพยาบาล



ABSTRACT
    This quasi-experimental study aimed to examine the effectiveness of mental development program to stress-reduction in nursing students when preparing for the Nursing License Examination of Thailand Nursing and Midwife Council. The population was 59 of the 4th year nursing students, 2012 acadamic year, at Boromarajonani College of Nursing, Nopparat Vajira. The sample practiced The Anapanasati Meditation for 60 minutes per week for 8 weeks. Data were collected by
questionnaire and Suanprung Stress Test (SPST-20) of the department of Psychiatric Health; Ministry of Public Health, rating scale from 0 to 5, the reliability was 0.90.  The data were collected in January 2012, analyzed by descriptive statistic and paired t-test.
    The result shown as follows.  The 59 samples were 92.1% female. They were 22 years old (76.9%) with average 21.8 years olds. Grade Point Average was between 2.50– 2.99 (51.6%).
The overall stress score before participating the program was at the medium level (=2.56, S.D.=0.76) and after  program was at the low level (=2.06,S.D.= 0.83 ).  The program was statistically
significant decrease the student stress compared the score before the program (p < 0.01).
 
Keywords :  Mental Development Program, Stress, Nursing student










Author Biographies

สุกิจ ทองพิลา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี   นพรัตน์วชิระ

ประไพจิตร โสมภีร์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ 681 ถ.รามอินทรา แขวงคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี   นพรัตน์วชิระ

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย