ความฉลาดทางด้านอารมณ์ของนักเรียนแพทย์ทหารชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

ผู้แต่ง

  • พ.ท. อรัญญา ทรัพย์พ่วง โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28
  • พ.ท. จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28
  • พ.อ. รังสิมา อิงอร่าม โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28
  • สุนทรีภรณ์ ทองไสย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์, นักเรียนแพทย์ทหาร, emotional, quotient

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางด้านอารมณ์ที่ประกอบไปด้วย
ด้านเก่ง ดีและมีสุขของนักเรียนแพทย์ทหารชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความฉลาดทางด้านอารมณ์ของนักเรียนแพทย์ทหาร ชั้นปีที่ 5 โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 102 นาย โดยใช้ แบบสอบถามที่ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามความฉลาดทางด้านอารมณ์ของ
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2543 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ใน
การวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบหาค่าที (t-test) ไคแสคว์ (Chi-square) และสถิติสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson correlation coefficient)
ผลการวิจัย  มีดังนี้
    1.    นักเรียนแพทย์ทหารชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้ามีความฉลาดทางด้านอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 56.86 มีความฉลาดทางด้านอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับสูงกว่าเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 76.47 มีความฉลาดทางด้านอารมณ์ด้านเก่งและความฉลาดทางด้านอารมณ์
ด้านสุขอยู่ในระดับเกณฑ์ปกติ คิดเป็นร้อยละ 57.84 เท่ากัน
    2.    ทางด้านปัจจัย ที่มีผลต่อความฉลาดทางด้านอารมณ์ของนักเรียนแพทย์ทหารชั้นปีที่ 5 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า พบว่า ปัจจัยด้าน เพศ เกรดเฉลี่ยเฉลี่ยสะสม สถานภาพของนักเรียน บรรยากาศในการเรียน (Educational environment) และเครือข่ายทางสังคม (Support system) ไม่มีผลต่อความฉลาดทางด้านอารมณ์ (คะแนน EQ รวม) ยกเว้นปัจจัยในเรื่องความชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของ
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าหรือกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีผลต่อความฉลาดทางด้านอารมณ์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความชอบในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
หรือกิจกรรมนอกหลักสูตร มีคะแนนการประเมินความฉลาดทางด้านอารมณ์เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่
ไม่ชอบเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ P<.05

คำสำคัญ : ความฉลาดทางอารมณ์ นักเรียนแพทย์ทหาร



Abstract
    This descriptive research  aimed to 1.) study the level of emotional quotient that consists
of intelligence good and happiness of the military medical students at grade 5 Phramongkutklao College of medicine,  and to 2.) study the factors that effected  on the emotional quotient of military medical students at grade 5.
    There were 102 participants enrolled to the study. The instrument used to gather data
included the questionnaires which consisted of 2 parts enquiring about personal data and emotional quotient assessment questionnaires which was developed by the Department of Mental Health
The Ministry of public health (2000). However, it was test for reliability and validity the Cronbach’s alpha reliability coefficient value was 0.86. The percentage, mean, T-test, chi-square and Pearson correlation coefficient were used to analyze the data.
Research results showed  
    1.    The results of this study showed that the medical cadets of the fifth year at Phramongkutklao College of Medicine had an overall of good emotional quotient level higher than normal at 56.86% which was higher than normal curve criteria (76.47 %), whereas focused on the emotional quotient and emotional quotient of happiness were rate on a regular basis at 57.84%.
    2.    In term of factors that affected on the emotional Quotient of the medical cadets of the fifth year at Phramongkutklao College of Medicine, there were gender, average grade point, student status, educational environment and support system affected on the overall of the emotional quotient. Except for participant those keen to participate to the course activities had an average emotional quotient score  statistical significance higher than those not participate at  P<.05

Keywords : emotional  quotient



Author Biographies

พ.ท. อรัญญา ทรัพย์พ่วง, โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28

อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

พ.ท. จิรฉัตร ถิ่นไพโรจน์, โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28

อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชและประสาทวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

พ.อ. รังสิมา อิงอร่าม, โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า 315 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400 โทร 0-2763-9300,0-2354-7600-28

อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า

สุนทรีภรณ์ ทองไสย, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 99 ม.9 ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช

คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย