ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ภาวะสุขภาพ, คุณภาพชีวิต, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, health status, quality of life, chronic obstructive pulmonary diseaseบทคัดย่อ
บทคัดย่อการศึกษาเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกโรคปอด โรงพยาบาลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างเดือนมกราคม – มีนาคม พ.ศ.2555 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเลือกเข้าศึกษา จำนวน 123 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะสุขภาพ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 70 ปี (SD=9.5) มีระยะเวลาการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ย 10 ปี (SD=0.97) ร้อยละ 72 มีประวัติการสูบบุหรี่ ด้านภาวะสุขภาพพบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39 มีระดับความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับน้อย การทดสอบความทนต่อการออกกำลังกายโดยการเดินภายใน 6 นาที (6MWT) พบว่าร้อยละ 41 เดินได้ระยะทางเฉลี่ย 258 เมตร(SD = 97.79) ร้อยละ 48 มีภาวะซึมเศร้า มีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ปกติเพียงร้อยละ 7 มีคุณภาพชีวิตระดับน้อยที่สุด (13 %) ระดับน้อยมาก (32%) ระดับน้อย (25%) และระดับปานกลาง (23%) ตามลำดับ และพบว่าคุณภาพชีวิตในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมาก โดยเฉพาะด้านการทำกิจกรรมของผู้ป่วย (activity) (= 79.4, SD = 6.5) รองลงมาคือการแสดงอาการของโรค (symptom) (= 62.4, SD = 25.5) และผลกระทบของโรคต่อผู้ป่วย (impact) (= 61.6, SD = 9.9) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจำเป็นต้องส่งเสริมการดูแลตนเองโดยเฉพาะการฟื้นฟูสุขภาพโดยกระตุ้นให้ออกกำลังกายด้วยการเดินและการดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาวต่อไป
คำสำคัญ : ภาวะสุขภาพ คุณภาพชีวิต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
Abstract
This survey study aimed to explore the health status and quality of life in patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). The 123 patients attended in the pulmonary clinic, Thasala hospital during January to March, 2013 and met the inclusion criteria. The tools for collecting data were personal information, health assessment, and health related to quality of life questionnaires. The statistics for analyzing data were frequency, percent, mean and standard deviation.
The results showed that most patients with COPD were male (85%) with an average age 70 years old (SD=9.5) and 10 year-hospitalized duration (SD=0.97), 72 percent of patients had been engaging in smoking. The patients had the lowest severity of health status (39%), the exercise
tolerance with six minute walking test in 258 meters long (41%), and were depressed (48%). The patients having the normal quality of life were only 7 percents. The quality of life of patients were at the lowest (13%), very low (32%), low (25%), and moderate level (23%). The patients with COPD severity had the effects of activity (=79.4, SD=6.5), symptom (=62.4, SD = 25.5) and impact of disease (= 61.6, SD = 9.9). From our results, in order to prevent depression and enhance the quality of life of the patient with COPD, clinicians should promote and empower patients to self-care themselves and exercise.
Keywords : health status, quality of life, chronic obstructive pulmonary disease