ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา เลิศถาวรธรรม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, พฤติกรรมการเรียน, นักศึกษาพยาบาล, Learning achievement, Learning behavior, Nursing students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความสำคัญต่อคุณภาพการศึกษา เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ที่มีความสำคัญในการพัฒนานักศึกษาให้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาที่กำหนด จากผลการสำรวจของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ในปีการศึกษา 2551 มีนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำจำนวน 57 คน จากจำนวนนักศึกษาทั้งสิ้น 793 คนคิดเป็นร้อยละ7.19 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการเรียน พฤติกรรมการเรียน ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน  การจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ การบริการของสถานศึกษา และความพร้อมของแหล่งฝึก กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ
นักศึกษาพยาบาล และ 2)วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1-4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 465 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแนวคำถามในการสนทนากลุ่มย่อยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณ
โดยใช้ตัวแปรพยากรณ์ที่ศึกษาเข้าไปในสมการพยากรณ์ทุกตัว (Enter multiple regression analysis) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่มย่อย
    ผลการวิจัย
    1.    เจตคติต่อการเรียน ความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อน การจัดการเรียนการสอน การบริการของสถาน
ศึกษา และความพร้อมของแหล่งฝึก มีความสัมพันธ์กันเชิงลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.064, p-value=.170; r= -.047, p-value=.307; r=  -.009, p-value=.839; r=-.029,
 p-value=.537 และ r=-.050, p-value=.278 ตามลำดับ) ส่วนพฤติกรรมการเรียน และพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.036, p-value=.441 และ r=.014, p-value=.767)
    2.    พฤติกรรมการเรียน เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการทำนายอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (R2= .020) โดยสามารถทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาได้ร้อยละ 2 และจากการสนทนากลุ่มย่อยพบว่าพฤติกรรมการเรียนได้แก่ การวางแผนการเรียน และการเอาใจใส่ต่อการเรียน เป็นพฤติกรรมที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
    จากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์ที่ปรึกษานำมาเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนา หรือหาแนวทางในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับปัญหาพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาในด้านการวางแผนการเรียน     และการเอาใจใส่การเรียน


คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  พฤติกรรมการเรียน นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract
    Learning achievement is the essential indicator of the completion of the program within the timeframe. In the academic year 2009, it was found that 57 out of 793 students at Boromarajonnani College of Nursing, Ratchaburi (7.19%) demonstrated low level of learning achievement.
The purposes of this descriptive study were to: 1) determine the relationships between learning
attitude, learning behaviors, peer relationship, educational management, teaching behavior of
instructors, educational services, readiness of health care settings, and learning achievement of nursing students, and 2) investigate factors influencing learning achievement. The sample were 465, first to forth year nursing students in the academic year 2011. Data were collected using self- reported
questionnaires and focus group discussion about factors influencing learning achievement.
Quantitative Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and Enter multiple regression. Qualitative data were analyzed using content analysis approach.
    The research findings revealed as follows:
    1. There was negative relationship between learning attitude, peer relationship, educational
management, educational service and readiness of health care setting, and learning achievement of nursing students (r= -.064, p-value=.170; r= -.047, p-value=.307; r=  -.009, p-value=.839; r=-.029,
p-value=.537 and r=-.050, p-value=.278 respectively).  Additionally, learning behavior and teaching behavior of instructors positively related with learning achievement of nursing students (r=.036,
p-value=.441 and r=.014, p-value=.767).
    2. All studied factors can be accounted for predicting of learning achievement for 2 percent,
in this regard; learning behavior of student was statistically significant influenced the prediction (R2= 0.20, p<.05). Emerging themes from focus group discussion were planning for study and paying attention in their study.
    According to study findings, it can be applied as a guideline for instructors, advisors. Besides,
the received information can be used in combination with a development plan. Furthermore, it
supports promoting learning management that can solve learning behavior problems of students.

Keywords : Learning achievement, Learning behavior, Nursing students






Author Biographies

กาญจนา เลิศถาวรธรรม, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

กรรณิการ์ กิจนพเกียรติ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย