การพัฒนาชุดฝึกทักษะทางการพยาบาล 3 in 1 ต่อการส่งเสริมผลลัพธ์การเรียนรู้ และความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ชุดฝึกทักษะทางการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์, นวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การพัฒนานวัตกรรมการฝึกทักษะการเจาะเลือด ให้สารน้ำและให้ยาทางหลอดเลือดดำที่ผ่านมา 2) เพื่อพัฒนาชุดฝึกทักษะทางการพยาบาล 3 in 1 และ 3) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อคุณภาพของชุดฝึกทักษะฯ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษาสถานการณ์ โดยทบทวนวรรณกรรม 2) พัฒนาชุดฝึกทักษะฯ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้จากการทบทวนวรรณกรรมและการวิจัยระยะที่ 1 และทดลองใช้ และ 3) ศึกษาประสิทธิภาพและความพึงพอใจต่อคุณภาพของชุดฝึกทักษะฯ กับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 45 คน เครื่องมือ ประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้แบบประเมินทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่า CVI .90, 1, 1 ตามลำดับ แบบทดสอบ มีค่าความยากง่าย .33 - .80 และมีอำนาจในการจำแนก .29 - .43 ส่วนแบบประเมินทักษะการปฏิบัติมีค่าความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกต .80 วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ Paired T-Test ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์การพัฒนานวัตกรรมการฝึกทักษะการเจาะเลือด ให้สารน้ำและให้ยาทางหลอดเลือดดำที่ผ่านมา พบว่ามีข้อจำกัดคือหลอดเลือดมีขนาดใหญ่ไม่เหมือนของจริง ผิวหนังมีความหนามากเกินไป ไม่มีแรงดันเลือดเหมือนจริง ข้อเสนอแนะควรเพิ่มความยืดหยุ่นและขนาดของหลอดเลือดให้เหมือนจริง มีระบบแจ้งเตือนเมื่อปฏิบัติไม่ถูกต้องและมีคู่มือการใช้งาน
2. ชุดฝึกทักษะฯ ที่พัฒนา ประกอบด้วย ชุดวิดีโอที่ใช้สำหรับเรียนรู้ หุ่นแขนเสมือนจริงพร้อมฐานรองเสาแขวนขวด ขวดใส่เลือดเทียมและกล่องใส่อุปกรณ์สำหรับการฝึกทักษะ 3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของผลลัพธ์ด้านความรู้และด้านทักษะการปฏิบัติ ก่อนและหลังการฝึกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = - 16.397, t = - 6.700 และ p-value < .001 ตามลำดับ) และความพึงพอใจต่อคุณภาพของชุดฝึกทักษะฯ อยู่ในระดับมากที่สุด
ดังนั้นจึงควรนำชุดฝึกทักษะฯ ไปใช้ในการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการเจาะเลือด ให้สารน้ำและให้ยาทางหลอดเลือดดำ
References
Bannaasan, B. (2017). Portable adult arm model for nursing students’ venipuncture and peripheral intravenous cannulation practice. Thai Journal of Nursing Council, 32(3), 38-49. (in Thai)
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw Hill.
Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Handbook I: Cognitive Domain. New York: David McKay.
Choeychom, S., & Rujiwatthanakorn D. (2015). The use of an innovative arm mode in practicing an intravenous infusion procedure of nursing students. Ramathibodi Nursing Journal, 21(3), 395-407. (in Thai)
Chotiban, P., Nawsuwan, K., Nontaput, T., & Rodniam, J. (2013). Innovation of assisted models for practicing basic nursing skills. Princess of Narathiwas University Journal, 5(3), 1-12. (in Thai)
Cohen J. (1977). Statistical Power for the Behavioral Sciences (2nd ed). New York: Academic Press.
Dale, E. (1969). Audio Visual Method in Teaching (4th ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston
Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning. New York: Association Press.
Office of the Basic Education Commission. (2020). Managing Distance Education Using Educational Technology During the COVID-19 Pandemic [Online]. Retrieved September 1, 2021, from https://www.obec.go.th/archives/483155 (in Thai)
Namdej, N. (2014). Self-directed learning. Thai Dental Nurse Journal, 25(2), 27-38. (in Thai)
Nantsupawat, A., Viseskul, N., Sawasdisingha, P., Auephanwiriyakul, S., & Yimyam, S. (2022). The development of an intravenous injection arm model. Nursing Journal, 49(3), 311-323. (in Thai)
National Education Act B.E. (1999). Thai Government Gazette, Royal Decree Edition, 116(74), 1-23. (in Thai)
Nontaput, T. & Chotiban P. (2021). Intravenous venipuncture: New development in training on arm manikin. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(3), 49-60. (in Thai)
Ponganusorn, K., Srisawang, J., Jittitaworn, W., Chooprom, N. C., Yodchai, K., & Choowong, J. (2024). Nursing lecturer’s satisfaction with the use of rubber manikins for venipuncture and peripheral intravenous cannulation practice. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 44(2), 53-62. (in Thai)
Senadisai, S. & Prapaipanich. (2017). Basic Nursing, Concepts and Practices. Judthong Printing Company. (in Thai)
Senngam, K., Limtasopon, D., & leuangkittikong, T., (2021). Academic achievement and students’ satisfaction towards the use of video “Medication Administration for Children” to supplement teaching in nursing laboratory, Ransit university. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 15(1), 30-48. (in Thai)
Sittipakorn, S. (2018). Effects of Learning Management Using Virtual Reality Models on Self-Confidence and Satisfaction of Third-Year Nursing Students, Faculty of Nursing, Mahasarakham University. The 14th Mahasarakham University Research, 50 years of Mahasarakham University, the wise should live for the public. Mahasarakham, Thailand. (in Thai)
Srisaard, B. (2012). Research for Teacher. Bangkok: Suveriyasan. (in Thai)
Taleh, P., Arong, N., Nilah, S., Hayee-abdulramea, N., Dueloh, F., Poh-adik, S., et al. (2021). Efficiency of glove collection for practicing intravenous in second year nursing student princess of Naradhiwas university. Journal of Prachomklao College of Nursing, Phetchaburi Province, 1(3), 62- 77. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการพยาบาลและการศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.