การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของตำรวจภูธร ในจังหวัดหนึ่งของภาคใต้

ผู้แต่ง

  • มาลี คำคง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • ปุญณพัฒน์ ชำนาญเพาะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • จิตตินันท์ พงสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม , สร้างเสริมสุขภาพ , โรคหลอดเลือดหัวใจ , ตำรวจภูธร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของตำรวจภูธรในจังหวัดหนึ่งของภาคใต้ ดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตำรวจภูธร 91 คน รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และโปรแกรมประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในคนไทย หลังจากนั้นเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพ 27 คน รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึก สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของตำรวจภูธร ผู้มีส่วนร่วมเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่าง 51 คน ผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนร่วมดำเนินการ 28 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. ตำรวจภูธรส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจหลายปัจจัย แต่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะเวลา 10 ปี ในระดับต่ำ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพระดับพอใช้ และระดับไม่ดี มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ และข้อมูลเชิงคุณภาพบ่งชี้ว่าบางรายมีพฤติกรรมสุขภาพ  ที่ดี ขณะที่บางรายไม่ได้ดูแลตัวเอง

2. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของตำรวจภูธร ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก คือ 1) สร้างการตระหนักรู้ในสถานการณ์สุขภาพสู่การเปลี่ยนแปลง 2) ใช้ใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยตนเอง และ 3) จัดการให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนโดยองค์กรและครอบครัว ระหว่างเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 6 เดือน พบว่า ตำรวจภูธรจำนวนมากกว่าครึ่ง มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับดีถึงดีมาก ทุกรายเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อลด        ปัจจัยเสี่ยงต่อการโรคได้ ร้อยละ 47.06 คะแนนความเสี่ยงลดลงและร้อยละ 31.37 ระดับความเสี่ยงลดลง

การสร้างการตระหนักรู้ในสถานการณ์สุขภาพเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง โดยครอบครัวและองค์กรเป็นแรงผลักดันให้เกิดการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง

References

Aunsaard, S. (2022). Factors associated with medication adherence among retired police officers with non-communicable diseases in family medicine clinic, police general hospital. Journal of Primary Care and Family Medicine, 5(3), 173-184. (in Thai)

Beck, C.T. (1994). Reliability and validity issues in phenomenological research. Western Journal of Nursing Research, 16(3), 254-267.

Crane, P. & O’Regan, M. (2010). On PAR Using Participatory Action Research to Improve Early Intervention. Department of Families, Housing, Community Services and Indigenous Affairs, Australian Government.

Cronbach, L. J. (1951). Essentials of Psychological Testing. (3rd edition). New York: Harper & Row.

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2018). Disease Situation of Coronary Artery Disease. Retrieved April 9, 2021 from https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ (in Thai)

Endsley, M. (1995). Toward a theory of situation awareness in dynamic systems. Human Factors Journal, 37(1), 32-64.

Karnchanakomate, J., Chuayyok, S., Chaipet., N, & Nakpet., A. (2022). Correlation between neck circumference and risk of hypertension and diabetes among adults and older adults. Journal of Nursing and Education, 14(4), 95-105. (in Thai)

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Action Research Planner. (3rd Edition). Geelong, Australia: Deakin University Press.

Kexin, W., Yaodong, D., Rui, W., Jiaxin, Y., Xiaoli, L., Hongya, H., et al. (2023). Remnant cholesterol and the risk of coronary artery disease in patients with type 2 diabetes. Angiology, 74(8), 745-753.

Kumar, S. & Preetha, G.S. (2012). Health promotion: An effective tool for global health. Indian Journal of Community Medicine, 37(1), 5–12.

Liangruenrom, N. (2022). Health promotion & disease prevention. (1th Edition). Bangkok: National Health Security Office (NHSO). (in Thai)

Mahidol University. (2015). Thai CV Risk Score-Mahidol University. Retrieved April 9, 2022 from https://www.rama.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk score (in Thai)

Manor, A., Prateepko, T. & Lateh, A. (2018). Factors affecting health promoting behaviors of police working in the three southernmost provinces. Journal of Education, 29(2), 123-132. (in Thai)

Moree, C. & Muang Khon Kaen Police Station. (2022). Police and local people according to Brahmavihara 4. Buddhism in Mekong Region Journal, 5(2), 1-16. (in Thai)

Natetipawan, P., Lagampan, S. & Kalampakorn, S. (2017). The effectiveness of a smoking cessation program application the stage of change theory for Metropolitan Police. Journal of The Police Nurses, 9(1), 82-93. (in Thai)

National Reform Committee on Public Health. (2021). National Health Reform Plan. (revised edition). Retrieved April 9, 2022 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/ (in Thai)

Phengsuk, S. & Sirisook, V. (2015). Drinking behavior and tendency of disobedience to the laws/disciplines concerning alcohol consumption among policemen in Bangkok. Public Health & Health Laws Journal, 1(2), 91-104. (in Thai)

Phunpho, R., Chaimongkol, N. & Dallas, JC. (2016). Factors influencing mental health status among non-commissioned police officers. Christian University in Thailand Journal, 22(4), 460-470. (in Thai)

Punset, K., Klinthuesin, S., Kingkaew, A. & Wongmaneero, W. (2015). Cardiovascular risk among staffs working at the central of ministry of public health using risk assessment of Rama-EGAT Heart Score. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 25(2), 57-70. (in Thai)

Raksamani, K., Jirativanont, T. & Mahidol University. (2019). Non-Technical Skill for Healthcare Professionals. (2nd Edition). Bangkok: P.A. Living. (in Thai)

Singhaviseth, K & Naweecharoen, R. (2014). Factors related to body weight control behaviors among overweight police officer. Journal of The Police Nurses, 6(1), 112-156. (in Thai)

Turco, J. V., Inal-Veith, A. & Fuster, V. (2018). Cardiovascular health promotion: An issue that can no longer wait. Journal of American College Cardiology, 72(8), 908–913.

World Health Organization. (2016). Health Promotion. Retrieved October 9, 2022 from https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/

World Health Organization. (2020). The Top 10 Causes of Death. Retrieved October 9, 2023 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/

World Health Organization. (2023). Health Promotion in the Western Pacific. Retrieved October 9, 2023 from https://www.who.int/westernpacific/health-topics/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-19

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย