การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ศูนย์ผ่าตัดฟื้นฟูสุขภาพ โรงพยาบาลทุติยภูมิแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ลภัสรดา โสภณ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • อุษา ตันทพงษ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยน                ข้อเข่าเทียมแบบหนึ่งข้างและแบบสองข้างพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานต้นทุนทั้งหมดของบุคลากรพยาบาล จำนวน 14 คน และรายงานต้นทุนที่เกิดจากการให้บริการผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกต้นทุนในมุมมองของผู้ให้บริการ จำนวน 3 ชุด ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนต่อหน่วยบริการ ได้แก่ ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าครุภัณฑ์ โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิของโรงพยาบาล 2) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม 3) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผ่าตัด เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยกับผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) เท่ากับ .97 และคำนวณค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1. ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลรวมของผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบหนึ่งข้างและแบบสองข้าง พร้อมกัน เท่ากับ 74,480.47 บาท และ 134,838.68 บาท

2. ต้นทุนต่อกิจกรรมการพยาบาลเท่ากับ 2,53 บาท และ 2,466.56 บาท ตามลำดับ

3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อรายเท่ากับ 7,448.04 บาท และ 7,154.04 บาท

ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลเชิงประจักษ์เรื่องขององค์ประกอบต้นทุน (ค่าแรง ค่าวัสดุ ค่าลงทุน) เพื่อใช้ประกอบการ  วางแผนการบริหารต้นทุนและงบประมาณได้สอดคล้องกับกิจกรรมการผ่าตัด ทำให้มีการเตรียมทรัพยากรด้านต้นทุนได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้การจัดบริการเป็นไปตามเป้าหมาย

References

Bureau of Nursing, Department of Medical Services Ministry of Public Health. (2008). Nursing Standards in Hospitals. (3rded.). Bangkok: Wvo Officer of Printing Mill. (in Thai).

Chuengsaman, S., Oumtanee, A., & Wivatvanit, S. (2016). Analysis of nursing unit cost and perioperative nursing activities cost of the operative room, Surin Hospital. Journal of Nursing and Health Care, 34(1), 163-169. (in Thai).

Damri, T. (2020). Outcome of physical therapy programs in post-operative total knee arthroplasty. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 35(3), 605-617.

Feng, J. E., Novikov, D., Anoushiravani, A. A., & Schwarzkopf, R. (2018). Total knee arthroplasty: improving outcomes with a multidisciplinary approach. Journal of Multidisciplinary Healthcare, 11, 63-73. doi.org/10.2147/JMDH.S140550

Gupta, K. K., Attri, J. P., Singh, A., Kaur, H., & Kaur, G. (2016). Basic concepts for sample size calculation: Critical step for any clinical trials!. Saudi Journal of Anaesthesia, 10(3), 328-331. doi.org/10.4103/1658-354X.174918

Kaplan, R. S., & Cooper, R. (1998). Cost and Effect: Using Integrated Cost Systems to Drive Profitability and Performance. Massachusetts: Harvard Business.

Keereeruk , K., Pathumaruk , N., & Singchungchai , P. (2020). Nursing activity costing analysis of cesarean section management in a private hospital. Nursing Journal CMU, 47(2), 345–355. (in Thai).

Lawson. R. (2017). Costing Practices in Healthcare Organizations: A Look at Adoption of ABC. Costing and Managerial Accounting. Retrieved April 22, 2023 from https://www.hfma.org/ accounting-and-financial-reporting/costing-and-managerial-accounting/57198/

Losina, E., Walensky, R. P., Kessler, C. L., Emrani, P. S., Reichmann, W. M., Wright, E. A., et al. (2009). Cost-effectiveness of total knee arthroplasty in the United States: patient risk and hospital volume. Archives of Internal Medicine, 169(12), 1113-1122. doi.org/10.1001/archinternmed.2009.136

Meprasert, T., & Inpha, S. (2010). Quality of life of osteoarthritis patients after total knee replacement surgery. In Annual academic conference 2010 “Innovation Management: Fulfill the organization's path of excellence”. Department of Nursing Siriraj Hospital. July, 21-22, 2010. pp. 497-502. (in Thai).

Permpoon, P. (2014). Nursing Manual for Patients with Osteoarthritis Undergoing Knee Replacement Surgery Special Patient Nursing Work. Nursing Department Siriraj Hospital. Bangkok: Faculty of Medicine Siriraj Hospital Mahidol University. Retrieved April 22, 2023 from https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/58610. (in Thai).

Popesko, B. (2013). Specifics of the Activity-Based Costing applications in Hospital Management. International Journal of Collaborative Research on Internal Medicine and Public Health, 5(3), 179-186.

Santisathaporn, R., Thamteerasit, W., Pakrajang, P. Suntron, A. (2020). The Development model of nursing care in patients with reconstructive surgery of the total knee replacement, Loei Hospital. Journal of Nursing and Health Care, 38(3), 157-166.

Udomkiat, P. (2011). Treating Osteoarthritis by Surgery. Retrieved April 22, 2023 from https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=854 (in Thai).

Wan, R. C. W., Fan, J. C. H., Hung, Y. W., Kwok, K. B., Lo, C. K. M., & Chung, K. Y. (2021). Cost, safety, and rehabilitation of same-stage, bilateral total knee replacements compared to two-stage total knee replacements. Knee Surgery & Related Research, 33(1), 17. doi.org/10.1186/s43019-021-00098-z

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-21 — Updated on 2024-03-29

Versions

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย