ภาวะสุขภาพและการจัดการสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้าน ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สุรชาติ สิทธิปกรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรพันธ์ สืบเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สมจิต แดนสีแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • อุไร จำปาวะดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • จารุวรรณ ก้าวหน้าไกล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ภาวะสุขภาพ, การจัดการสุขภาพตนเอง, การดูแลที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพและการจัดการสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม พ.ศ.2564 จากผู้สูงอายุที่ป่วย หรือพิการ 42 คน และ ผู้ดูแลในครอบครัว 42 คน

ผลการศึกษา พบว่า 1. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ มี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ผู้สูงอายุติดเตียง 25 คน จากการป่วยด้วยโรคเส้นเลือดสมองตีบ ร่วมกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไตเรื้อรัง 2) ผู้สูงอายุติดบ้าน 13 คน จากการหกล้ม สะโพกและกระดูกสันหลังเคลื่อน เดินไม่ได้จึงมีการนั่งถัดเคลื่อนตัวในบ้าน
3) ผู้สูงอายุพิการ ตาบอดจึงอยู่ติดบ้าน 4 คน 2. การจัดการสุขภาพตนเอง พบว่า ผู้สูงอายุทุกคนมีการจัดการสุขภาพไม่เหมาะสม ได้แก่ 1) ไม่พบแพทย์ เนื่องจากเดินทางลำบาก ญาติซื้อยามาให้รับประทาน
2) ปรับสภาพบ้านตามกำลังทรัพย์ โดยนอนอยู่ที่โล่งใต้ถุนบ้าน บนเตียงที่ทำเอง ใกล้ห้องน้ำเพื่อความสะดวกในการใช้น้ำ 3) รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม ไม่ได้จำกัดอาหารตามการป่วย 4) ไม่ออกกำลังกาย เนื่องจากลำบากผู้ดูแล 5) นอนไม่หลับสนิท ต้องใช้ยานอนหลับช่วยให้หลับ 6) บริหารจิตใจ โดยเปิดวิทยุฟังพระสวดและหมอลำ

ผู้สูงอายุมีการจัดการสุขภาพของตนเองยังไม่เหมาะสม ควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาแนวทางสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่จากท้องถิ่น และเพิ่มสวัสดิการด้านการตรวจรักษาที่บ้านอย่างต่อเนื่อง การกายภาพบำบัด และการปรับสภาพที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสมต่อไป

References

United Nation. World populations ageing 2019.New York: United Nation; 2019.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute (TGRI). Report on the situation of the elderly in Thailand. Annual Report 2011; https://thaitgri.org/?p=37060; 2021

Suvit Maesincee. "Thailand 4.0 :Build strength from within Connecting the Thai economy to the world. https://www.facebook.com/drsuvitpage/; 2021.

Prawet Wasi. Local Community Strategy National Strategy for Sustainable Development, National strategy of sustainable development. Bangkok, KREL COMPUTER LIMITED; 2012.

Bunlu Siripanich. Health Care and Health Status of Thai Aging.Bangkok. Ministry of Health https://www.moph.go.th/; 2008.

Manit Sahiyo.A Model Lifelong for Many Persons are Age in Snoontoomhom Looglan Banlaoling. KKU Res J. 2012, 2(3): 283-297.

Phnom Kleechaya. Participatory Media Productions for Tacking Poverty, Social Development and Health Integrated. Journal of Communication Arts. Faculty of Communication Arts, Chulalongkorn University, 2018.

Apisak Theeravisit. Humanmapping social regenerating model in Issan contemporary situation Khon Kaen. Khon Kaen University; 2016.

Wagner EH, Davis CS. A survey of leading chronic disease management programs: Are they consistent with the literature? Manag Care Q756- 66PubMedGoogle Scholar; 1999.

Bodenheimer T, Wagner EH, Grumbach K. Improving primary care for patients with chronic illness: the chronic care model, part 2. JAMA 2002; 2881909- 1914PubMedGoogle Scholar

Tsai ACMorton SCMangione CMKeeler EB A meta-analysis of interventions to improve care for chronic illnesses. Am J Manag Care 2005;11478- 488PubMedGoogle Scholar

Kemmis, S. & McTaggart, R. Participatory Action Research: Communicative Action and the Public Sphere. In DENZIN, N. K., & LINCOLN, Y. S., (Eds.). The SAGE Handbook of Qualitative Research. 3rd ed. London: SAGE Publications; 2005.

Deanseekaew, S., Klungklang, R., Smith, J.F. Community Participation Efforts for Strengthening Community Well-being through Conflict Management. Philippine Journal of Nursing, Special Edition; 2012.

Passakorn Suanrueang, et al. Community Care by Caregivers to Dependent Elderly under the Community-Based Long-Term Care Policy. Journal of Health Systems Research, 2018; 12(3), 437-451.

Saijai Jarujit, , et al. Home Visit Model for Bedridden Patients Based on the Problems and Needs of Caregivers. Phrapokklao Nursing College, Chanthaburi, 2019; 30(1), 54-68.

Seenuan Rattawijit , et al. Model of Elderly Health Care Service Arrangement by Community Participation in Wang Taku Subdistrict, Nakhon Pathom Province, Kuakarun Journal; 2017, 24(1), 42-54.

Usa Phonthong. A Guide to Developing Energies to Prepare for a Quality Retirement, Bangkok Amarin Printing ; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย