ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูง ในคลินิกหมอครอบครัว จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • นุสรา นามเดช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • สมจิตต์ สินธุชัย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • ประไพ กิตติบุญถวัลย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • กันยารัตน์ อุบลวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
  • จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูง 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ การศึกษา และรายได้ ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยวิธีการเชิงปริมาณใช้การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความดันโลหิตสูง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกหมอครอบครัว จำนวน 336 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างและคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษาที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.85 มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี Scheffe ในวิธีการเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 34 คน คือ 1) บุคลากรสุขภาพที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล โภชนากร และ อสม.จำนวน 10 คน และ 2) ผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูง ทำการเลือกตัวอย่างแบบสุ่มตามวัตถุประสงค์ จำนวน 24 คน โดยผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ด้วยแบบสัมภาษณ์แบบ
มีโครงสร้างและบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง
เดือนมกราคม - เมษายน 2563

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 54.76 มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับไม่เพียงพอ รองลงมา คือ อาจมีปัญหา (ร้อยละ 28.27) และเพียงพอ (ร้อยละ 16.96) โดยพบว่าด้านการเข้าถึง การประเมิน และการประยุกต์ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจปฏิบัติ อยู่ในระดับไม่เพียงพอ โดยคิดเป็นร้อยละ 76.49, 75.60 และ 41.07 ตามลำดับ ส่วนด้านความเข้าใจอยู่ในระดับอาจมีปัญหา คิดเป็นร้อยละ 48.51 รวมทั้งกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าถึงและเชื่อถือข้อมูลทางสุขภาพจากบุคลากรทางสุขภาพหรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่มาจากแหล่งข้อมูลทางการแพทย์ และการสื่อสารจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการปฏิบัติการดูแลสุขภาพของตนเอง  2) อายุ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 6.826, p < .05, F = 33.552, p < .001, F = 26.314, p < .001 ตามลำดับ) โดยผลการทดสอบรายคู่พบว่า อายุ 60-69 ปี และ 70-79 ปี รวมทั้งระดับการศึกษาและรายได้ทุกคู่ มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

References

Ekplakorn, W., The Report of the Survey of Thai People by Physical Examination, the 5th Time, 2014. Bangkok: Graphic and Design Publishing House, 2016. (in Thai)

Crowley, J., Bosworth, B., Coffman, J., Lindquist, H., Neary, M., Harris, C., et al. Tailored Case Management for Diabetes and Hypertension (TEACH-DM) in a Community Population: Study Design and Baseline Sample Characteristics. Contemporary Clinical Trials, 2013; 36: 298–306.

Department of Disease Control, Division of Non Communicable Disease. Annual Report, Bureau of Non Communicable Disease [online]. 2018 [cited 2021/7/15]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12986&tid=30&gid=1-015-008 (in Thai)

National Health Commission Office. Health Literacy for NCDs Prevention and Management [online]. 2018 [cited 2021/7/15]. Available from: https://www.healthstation.in.th/action/viewvideo/4482// (in Thai)

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 2012; 12: 80.

Nutbeam, D. Health literacy as a public health goal: A challenge for contemporary

health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 2000; 15: 259–267.

Juul, L., Rowlands, G., & Maindal, H.T. Relationships between health literacy, motivation and diet, and physical activity in people with type 2 diabetes participating in peer-led support groups. Primary Care Diabetes, 2018; 12(4): 331–337.

Du, S., Zhou, Y., Fu, C., Wang, Y., Du, X., Xie, R. Health literacy and health outcomes in hypertension: An integrative review. Int J Nurs Sci, 2018; 5(3): 301-9.

Wongnisanatakul, K. Health Literacy among Diabetic Patients at the Family Practice Center of Phra Nakhon Si Ayutthaya Hospital. JPMAT, 2017; 8(1): 50-61. (in Thai)

Thanasukarn, C. and Neelapaijit, N. Health literacy survey of diabetic mellitus and hypertension patients. Nonthaburi: Division of Health Education, Department of Health Service Support, Ministry of Public Health, 2016. (in Thai)

Santos, MIPO. & Portella, MR. Conditions of functional health literacy of an elderly diabetics group. Rev Bras Enferm [online]. 2016 [cited 2021/7/15]. Available from:http://dx.doi.org/10.1590/0034-167.2016690121i

Hussein, S.H., Almajran, A., & Albatineh, A.N. Prevalence of health literacy and its correlates among patients with type II diabetes in Kuwait: A population-based study. Diabetes Res Clin Pract [online]. 2018 [cited 2021/7/15]. Available from: doi: 10.1016/j.diabres.2018.04.033.

Epub 2018 May 3. PMID: 29729374.

Lorini, C., Lastrucci, V., Mantwill, S., Vettori, V., & Bonaccorsi, G. Measuring health literacy in Italy: A validation study of the HLS-EU-Q16 and of the HLS-EU-Q6 in Italian language, conducted in Florence and its surroundings. Annali dell'Istituto Superiore di Sanità, 2019; 55(1): 10–18.

Chantha, W. Health literacy of self-care behaviors for blood glucose level control in patients with type 2 diabetes, Chainat province. Thesis of Master Degree. Bangkok: Thammasat University, 2016. (in Thai)

Pashaki, M.S., Eghbali, T., Niksima, S. H., Albatineh, A. N., & Gheshlagh, R. G. Health

literacy among Iranian patients with type 2 diabetes: A systematic review and meta-

analysis. Diabetes & Metabolic Syndrome: Clinical Research & Reviews, 2019; 13: 1341-1345.

Osborne, R.H., Elsworth, G.R., & Whitfield, K., The health education impact questionnaire (heiQ): An outcomes and evaluation measure for patient education and self-management interventions for people with chronic conditions. Patient Education Counselling, 2007; 66(2): 192-201.

Tang, C., Wu, X., Chen, X., et al., Examining income-related inequality in health literacy and health-information seeking among urban population in China. BMC Public Health, 2019; 19: 221.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-29

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย