ศักยภาพของชุมชนในการสนับสนุนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • สุรพันธ์ สืบเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุรชาติ สิทธิปกรณ์
  • สมจิต แดนสีแก้ว
  • อุไร จำปาวะดี

คำสำคัญ:

ศักยภาพของชุมชน, การจัดการสุขภาพ, ผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้าน

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มุ่งศึกษาศักยภาพของชุมชนในการสนับสนุนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแลที่บ้านของ 14 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน พ.ศ.2564 จากผู้นำชุมชน ผู้จัดการดูแล นักบริบาลท้องถิ่น อาสาสมัครผู้ดูแลและผู้ดูแลหลักในครอบครัว รวม 166 คน ที่ร่วมดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง 25 คน จากโรคเรื้อรัง และ ผู้สูงอายุติดบ้าน 28 คนจากการหกล้มที่ทำให้กระดูกเชิงกรานและกระดูกสันหลังเคลื่อน ผลการวิจัยพบว่า

     ผู้นำชุมชนริเริ่มให้มีการจัดตั้งกองทุนผู้สูงอายุในชุมชน ประสานศูนย์การดูแลต่อเนื่องที่บ้านของจังหวัด สนับสนุนการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้นำชุมชนได้ประสานความร่วมมือกับบุคลากรของ รพ.สต. ซึ่งเป็นผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกันพัฒนาความรู้และทักษะแก่อาสาสมัครผู้ดูแลของชุมชนและร่วมส่งเสริมทักษะแก่ผู้ดูแลในครอบครัว ได้แก่ บุตรสาว บุตรสะใภ้ และญาติให้สามารถจัดการสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน โดยมีกิจกรรมดังนี้ 1) การประเมินสุขภาพ 2) การรับประทานยาและการไปตรวจตามนัด 3) การปรับสภาพแวดล้อมของบ้านและที่อยู่อาศัย 4) การจัดหาอาหารตามการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ5) การส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสภาพ 6) การจัดให้นอนหลับและพักผ่อนอย่างเพียงพอ 7) การส่งเสริมให้บริหารจิตใจ นอกเหนือจากนั้นการวิจัยนี้พบว่า ผู้นำชุมชนได้ประสานขอทุนเพื่อปรับสภาพบ้านผู้สูงอายุและจัดหาอุปกรณ์การดูแลให้แก่ผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ รวมถึงการเพิ่มคุณภาพการประสานกลุ่มอาสาสมัครให้ช่วยเหลือกันในบางโอกาสที่ผู้ดูแลในครอบครัวติดภารกิจมาก เพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพผู้สูงได้ต่อเนื่องและมีคุณภาพการดูแลที่ดีขึ้น

     ข้อเสนอแนะสำหรับชุมชนและสังคมไทยเพื่อนำไปพัฒนาต่อ คือ การเสริมหนุนให้ผู้นำชุมชนประชุมร่วมกับอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางส่งเสริมความรู้และศักยภาพการจัดการให้อาสาสมัครผู้ดูแลของชุมชน

References

Chantavanich, S., (2004). Qualitative Research Methodology. Bangkok: AP graphic Company. Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Deanseekaew, S., Klungklang, R. & Smith, J. F. (2012). Community Participation Efforts for Strengthening Community Well-being through Conflict Management. Philippine Journal of Nursing, Special Edition, 82(12), 49-56

Division of Older Persons Welfare Promotion and Rights Protection. (2018). Community Development to the elderly care in Community. Retrieved April 16, 2022 from https://www.dop.go.th/en/implementaion/7. (in Thai)

Duangudom, W. (2012). The Development of Appropriate Communication Media on Life Quality of Thai Elderly of Citizen in Bangkok and Phrae Province. Chandrakasem Rajabhat University Journal, 18(34), 13-22 (in Thai)

Hongthong, P. (2015). Human Resources for Health Research and Development Office (HRDO). Service Development in Common Chronic Disease among Elderly in Community. (in Thai)

KumKainam, T. (2011). Education and Community Development. 3rd Printed. Siripham Offset Company. (in Thai)

Kanlaya, S, Maitree, J. & Nilrat N. (2009). The Development of Community Participation in the Whole Life Educational Management for the Elderly. Ban Cha-Uad Sub-District, Julaporn Distriet, Nakhon Si Thammarat Province. Narkbhutparitat Journal, 1(1), 70-80. (in Thai)

Kawhom, C., (2012). Sustainable Development. Retrieved April 22, 2022 from http://sukanrat.blogspot.com/2012/09/sustainable-development.html. (in Thai)

Maesincee, S., (2021). Concept of Thailand 4.0. Retrieved March 19, 2022 from https://planning2.mju.ac.th/government/20111119104835_planning/Doc_25590823143652_358135.pdf. (in Thai)

Mahasarakham Provincial Health Office, Mahasarakham. (2021). Data Strategy, Key Performance Indicator and Guidelines for Long Term Care. LTC Data Collection Fiscal Year 2020. (in Thai)

National Commission on Older Persons. (2021). The Report: The Situation of the Thai Older Persons. Retrieved May 15, 2022 from https://thaitgri.org/?cat=8 (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council on NESDC. The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved May 28, 2022 from https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (in Thai)

Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2015). Report from Data Based in Health Promotion and Prevention in Standard 21 Files. Report from Screening (Fiscal year 2012-2014). Retrieved April 16, 2022 from http://203.157.10.11/report/index.php. (in Thai)

Ponetong, U., (2011). Handbook for Active Aging Development to Quality Retirees. Bangkok Amarin.

Puttakosa, K. (2015). Handbook for Learning Community Development. Retrieved June 19, 2021 from http://www1.nrct.go.th/downloads/sci_adviser/manual_develop_community.pdf. (in Thai)

Siripanich, B, (2008). Health Behavior and Lifestyle of the Elderly Who Live Long and Strong. Bangkok. Ministry of Public Health. (in Thai)

Siriboonlong, S. (2011). Sustainable Development: Socio-Economic Metabolism and Colonization of Nature. Retrieved April 24, 2022 from http://oocities.org. (in Thai)

Uwanno, B. (2009). Report form Study: Cooperation of Person in Public Policy Process. (2nd printed) Bangkok. AP Graphic Company. (in Thai)

Wasi, P. (2012). Strategy for Sustainable Community Development. Bangkok. Kreal Computer and Printing Company. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-25

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย