ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ สาสังข์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุนันทา ครองยุทธ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ยมนา ชนะนิล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ,พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์นี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัด ในตำบลธาตุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม พ.ศ. 2561 จำนวน 230 ราย ใช้การสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน  ผลการวิจัยพบว่า

ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพสมรส ปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=.135 p=.044; rs=.229 p<.001; rs=.372 p<.001 ตามลำดับ) และปัจจัยกระตุ้นด้านการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs=-.257 p<.001)

การส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเป็นโรค การรับรู้ความรุนแรงของโรคจึงมีความสำคัญ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพป้องกันผลกระทบจากโรคและนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตในที่สุด

References

Cooney, N. (editor). (2014). Literature Review: The Current Situation and Care Model of Non -Communicable Diseases. Institute of Medical Research and Technology Assessment, Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Nonthaburi: Art Qualified. (in Thai).

Duangnate, K. (2021). Prevalence and Factors Associated Depression among NCD Patients at Primary Care Unit of Phukieo Chalermprakiat Hospital. Medical Journal of Srisaket Surin Buriram Hospitals, 36(1), 13-24. (in Thai).

Glanz, K., Rimer, B.K. & Viswanath, K. (2008). Health Behavior and Health Education: Theory, Research, and Practice.4th ed. San Francisco: Jossey-Bass.

Intarakamhang, U. (2017). Health Literacy: Measurement and Development. Bangkok: Behavioral Science Research Institute (BSRI), Srinakharinwirot University. (in Thai).

Jangwang, S., Pittayapinune, T. & Chutipattana, N. (2016). Factors related to Self-Care Behavior for Prevention of Diabetes Mellitus and Hypertension among Population groups at risk. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 110-128. (in Thai).

Karnjanapiboonwong, A., Khamwangsanga, P. & Kaewtha, S. (2020). Situation NCDs: Diabetes Mellitus, Hypertension and Related risk factors 2019. Bureau of Non-Communicable Disease, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Bangkok: Aksorn graphic and design. (in Thai).

Khongton, C. (2017). Factors predicting Self-Care Health Promoting Behaviors of Diabetics with Type 2 Diabetes. Banklang subdistrict, Maungpathumthani district, Pathumthani province. Journal of the Phrae Hospital, 25(2), 24-35. (in Thai).

Pragodpol, P., Suwannaka, Y., Chaiyarit, A., Sosome, B., Sritan, S., Soisrisawat, M. & et al. (2015). Levels of Quality of Life and Method to Develop Quality of Life in Thai Chronically ill Patients. Bormarajonani College of Nursing Phraputtabat. (in Thai).

Praiwong, C., Sattayawongthip, W. & Sikut, P. (2017). The study of health beliefs and self - care behaviors of patients with hypertension in Sung noen district, Nakhon ratchasima province. Journal of Nakhonratchasima College, 11(1), 107-116. (in Thai).

Soynahk, C., Kompayak, J. & Punthasee, P. (2018). A Study of Health Belief Model and the risk of Type 2 Diabetes in Working Muslim Populations. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 19(Supplement), 267-277. (in Thai).

The Policy and Strategy Section, Bureau of Non-Communicable Disease. (2017). 5-year National NCDs Prevention and Control Strategic and Action Plan (2017- 2021). Ministry of Public Health. Bangkok: Emotion Art Co. (in Thai).

World Health Organization (WHO). (2013). Global Action Plan for the Prevention and Control of Non-Communicable Diseases 2013-2020. Geneva: WHO Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-18

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย