ผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้ สำหรับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก

ผู้แต่ง

  • จินตพักตร์ จันทะโคตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ทัศนีย์ รวิวรกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิชัย จันทร์ศรีวงศ์ โรงพยาบาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

โปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้, ญาติผู้ดูแล, ความสามารถในการดูแล, ผู้สูงอายุที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลสนับสนุนและให้ความรู้สำหรับญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศูนย์สกลนคร
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง
และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน โดยได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมโปรแกรมฯ 3 ครั้ง ระยะเวลา 4 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับคำแนะนำการดูแลผู้ป่วยตามปกติ จากพยาบาลของหน่วยเคมีบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลของญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก ที่มีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ .86 และ
ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square, Fisher’s exact test, Paired t-test และ Independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการดูแลโดยรวม และคะแนนเฉลี่ยด้านการดูแลที่จำเป็นโดยทั่วไป และด้านการดูแลที่จำเป็นเมื่อมีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง (p<.001) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (p<.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนคะแนนเฉลี่ยด้านการดูแลที่จำเป็นตามพัฒนาการ พบว่าไม่แตกต่างกัน

ดังนั้น โปรแกรมการพยาบาลฯ นี้ ช่วยให้ญาติผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ซึ่งพยาบาลหน่วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลและพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมความสามารถของญาติผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดแบบผู้ป่วยนอก และการดูแลต่อเนื่องสู่ชุมชนได้

 

References

1. The Strategy and Planning Division, the Ministry of Public Health. Public Health Statistics A.D. 2018 [online]. 2018 [cited 2018/7/7]. Available from: http://bps.moph.go.th/ new_bps/sites/default/files/statistic%2061.pdf (in Thai)
2. National Cancer Institute. Hospital Cancer Registry, 2018 [online]. 2018 [cited 2018/7/7]. Available from: http://www.nci.go.th/th/File_download/Nci%20Cancer%20Registry/ Hospital%20Based_2018.pdf (in Thai)
3. Cancer Coordinate Center, Sakonnakorn Hospital. Sakonnakorn Hospital-based Cancer Registry, 2018 [online]. 2018 [cited 2018/7/7]. Available from: https://www.cancer2u.com/?p=583
4. Karomprat, A., Chaichan, P., Santawesuk, U. & Sookprasert, A. Symptoms, Symptom Management and Outcome in Cancer Patients Undergoing Chemotherapy. Srinagarind Medical Journal, 2017; 32(4): 326-331. (in Thai)
5. I-gumnerd, J., Chaiard, J. & Udomkhamsuk, W. Relieving the Burden Among Caregivers of Cancer Patients: A Systematic Review. Nursing Journal, 47(1): 164-174. (in Thai)
6. Sirapo-ngam, S. Family Caregiver: Research Concepts and Problems.Ramathibodi Nursing Journal, 1996; 2: 84-92. (in Thai)
7. Given, BA., Given, CW. & Sherwood, PR. Family and Caregiver Needs over the Course of the Cancer Trajectory. The Journal of Supportive Oncology, 2012; 10(2): 57–64.
8. Meecharoen, W. Family Caregivers of Cancer Patients: Roles’ Adaptation and Quality of Life Promotion. Ramathibodi Nursing Journal, 2014; 20(1): 10-22. (in Thai)
9. Schulz, R. & Sherwood, PR. Physical and Mental Health Effects of Family Caregiving. The American Journal of Nursing, 2008; 108(9): 23–7.
10. Semsarn, S., Chaiviboontham, S. & Chansriwong, P. Effects of Family Caregiver Training Program on Family Caregivers and Patients Outcomes in Terminal Care of Chronic Illness Patients. Thai Journal of Nursing and Midwifery Practice, 2018; 5(1): 112-26. (in Thai)
11. Triyawong, D., Lagampan, S. & Rawiworrakul, T. Effect of the Supportive-educative Nursing Program on Capability of Family Caregiver for Caring Post Stroke. JPMC, 2020; 37(3): 240-9. (in Thai)
12. Orem, DE. Nursing: Concepts of Practice, 4th Ed. St. Louis, MO: CV Mosby, 1991.
13. Borson, S., Scanlan, J., Brush, M., Vitaliano, P. & Dokmak, A. The Mini-cog: A Cognitive 'Vital Signs' Measure for Dementia Screening in Multi-lingual Elderly. International Journal of Geriatric Psychiatry, 2000; 15(11): 1021–7.
14. Collin, C., Wade, DT., Davies, S. & Horne, V. The Barthel ADL Index: A Reliability Study. Int D Stud, 1988; 10(2): 61–3.
15. Tejagupta, C. & Puangtong, N. Family Life and Community Study: Unit 1 Family and Community Concept and Theory. Nonthaburi: School of Human Ecology, Sukhothai Thammathirat Open University, 2017. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16