ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม

Factors Affecting the Performance of Medication Error Prevention of Sub-district Health Promoting Hospitals in Nakhon Pathom Province

ผู้แต่ง

  • อรอนงค์ สุขเสาร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิตยา เพ็ญศิรินภา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • พรทิพย์ กีระพงษ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับผิดชอบงานด้านยา ปัจจัยด้านโครงสร้าง ปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2) การดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และ 3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยการสนับสนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายต่อการดำเนิน งานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลักด้านยาในโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แห่งละ 1 คน รวม 134 คน ในช่วงเดือนมิถุนายน 2562 – กรกฎาคม 2562  เครื่อง มือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยด้านโครงสร้าง แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยา และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครปฐม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า1) ผู้รับผิดชอบงานด้านยาอายุเฉลี่ย 41.78 ปี ส่วนมากเป็นพยาบาลวิชาชีพร้อยละ 39.6  ระยะเวลาที่รับผิดชอบงานด้านยาอยู่ระหว่าง 1 – 5 ปี ร้อยละ 41.8  จำนวนเจ้าหน้าที่ 4 – 6 คน ร้อยละ 47.8 และเคยได้รับการอบรมความรู้ในเรื่องความคลาดเคลื่อนทางยาในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ  66.4   ปัจจัยด้านโครงสร้างและปัจจัยการสนับ สนุนจากโรงพยาบาลแม่ข่ายในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (Mean= 3.83) และ (Mean = 3.65)  (2) การดำเนินงานป้องกันความคลาด เคลื่อนทางยาในภาพรวมอยู่ในระดับสูง(Mean = 3.98)  และ 3) การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่าปัจจัยด้านโครงสร้าง และปัจจัยสนับสนุนจากโรง พยาบาลแม่ข่าย สามารถร่วมกันทำนายการดำเนินงานป้องกันความคลาด เคลื่อนทางยาของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้ร้อยละ 54.1

สรุป  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้รับการสนับสนุนหรือพัฒนาในส่วนของปัจจัยด้านโครง สร้างและปัจจัยการสนับสนุนจากแม่ข่ายมากขึ้นจะสามารถช่วยให้ผลการดำเนินงานป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาดีขึ้น

References

REFERENCES
1. The Association of Hospital Pharmacy. The Preventing of Medication Error for Patient Safety, 2
ed. Bangkok, 2005. (in Thai)
2. Institute of Medicine, To Err is Human: Building a Safer System. [Cited 2018/3/31]; Available from: http://www.nap.edu/catalog/9728.html
3. World Health Organization. Medication Errors: Technical Series on Safer Primary Care. 2016.
[Cited 2018/3/21], Available from:
https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/252274/9789241511643-eng.pdf?sequence=1
4. Cousins, D H., Gerrett, D. and Warner, B. A review of Medication Incidents Reported to the National Reporting and Learning System in England and Wales over 6 Years (2005-2010), Br Journal of Clinical Pharmacol0gy, 2012; 74(4): 597-604
5. Garfield, S., Barber, N., Walley, P., Willson, A. and Eliasson, L. Quality of Medication use in Primary Care--Mapping the Problem, Working to a Solution: a Systematic Review of the Literature, BMC Med: 2009; 7(50): 1-8.
6. Bhoomapirat, W. Evaluation of Medication Reconciliation Process in Outpatients with Diabetes from Primary Care Units at Nopparat Rajathanee Hospital, Veridian E – Journal Science and Technolog , Silpakorn University:2015; 2(1): 65-73 (in Thai)
7. Kunthong, K., Fuangchan, A. Development of Medication Service System to Reduce
Medication Error for Patients with Chronic Diseases at Phakhai Primary Care Unit,
Ayutthaya, Master of Pharmacy, Phitsanulok: Naresuan University; 2015. (in Thai)
8. Phianthum, C., Ploylearmsang, C., Anusornsangiam, W. Outcome of Medication Errors Reduction Procedure in Phukieo Health Promoting Hospitals, Chaiyaphum Province, Master of Pharmacy (Clinical Pharmacy), Maha Sarakham, Mahasarakham University; 2018 (in Thai)
9. Ministry of Public Health, National Patient Safety Goal 2007 - 2008, Nonthaburi, 2007. (in Thai)
10. Starfield, B. Primary Care: Concept, Evaluation and Policy. New York: Oxford University Press,Inc; 1992
11. Supawong, C.Sub-District Health Promoting Hospitals Manual, 2ed, Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand; 2009 (in Thai)
12. Primary Care Cluster, Manual of Tid Daw Sub-district Health Promoting Hospitals 2019. [Cited 2019 11/16]. Available from: http://cro.moph.go.th/cppho/download/969_26122018.pdf (in Thai)
13. Manias, E. et al. Medication Error Trends and Effects of Person-Related, Environment-Related and Communication-Related Factors on Medication Errors in a Paediatric Hospital. Journal of Paediatrics and Child Health Hospital: 2019; 55(3): 320-326. (in Thai)
14. Pumtong, S., Duangchan, P.,& Anuwong, K., Evaluation of Diffusion of Concept of Social Norm about Antibiotic Smart Use. [Cited 2019/11/16]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4205?locale-attribute=th (in Thai)
15. Srithamrongsawat S., The Results of Study, Evaluation of Management, Finance, Primary Care Network and Development of Information System for the Management of Primary Healthcare Facility. Research Report (online) [Cited 2019 /8/2]. Available from: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3341?locale-attribute=th (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-03