ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

Factors Related to Care Readiness for Persons with Dementia among Village Health Volunteers

ผู้แต่ง

  • ณัฐรดา แฮคำ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วรรณรัตน์ ลาวัง มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมสมัย รัตนกรีฑากุล มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

ความพร้อมในการดูแล, ผู้มีภาวะสมองเสื่อม, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

          อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)  เป็นทรัพยากรสำคัญในระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมระยะยาว  การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมของ อสม. และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม. ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน  2562 ถึง มกราคม  2563 โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแล แบบสอบถามการรับรู้บทบาทการดูแล ทัศนคติต่อการดูแล การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท และความพร้อมในการดูแลที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน โดยแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแล มีค่า KR 20 เท่ากับ .63 แบบสอบถาม การรับรู้บทบาทการดูแล ทัศนคติต่อการดูแล การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท และความพร้อมในการดูแล มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .92 .72 .93 .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 72.08, S.D. = 13.26, Madj = 3.60) ทุกด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการประเมินความต้อง การด้านสุขภาพและด้านการจัดทำฐานข้อมูล มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์

 

ทางบวกกับความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้แก่ การรับรู้บทบาทการดูแล (r = .669,p < .001) การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท (r = .525,p < .001) ทัศนคติต่อการดูแล (r = .344, p < .001) ภาวะสุขภาพของ อสม.(r = .173, p < .01) และความรู้เกี่ยวกับการดูแล (r = .170, p < .01)

สรุป การศึกษาครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับความพร้อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนา อสม. ให้มีความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้บทบาทการดูแล สนับสนุนการปฏิบัติบทบาท ส่งเสริมทัศนคติที่ดีต่อการดูแล เพิ่มพูนการรับรู้ภาวะสุขภาพตนเอง และให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลเพื่อให้ อสม. มีความพร้อม และ ศักยภาพในการดูแล ให้เกิดคุณภาพการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ

References

REFERENCES
1. Chunharat S., Jongudomsuk P., Noppamanee C., Nimmannit A., Health Systems Research Institute: HSRI. 2012. Faculty of Medicine Siriraj Hospital. Mahidol University.
2. Wongsari S., Phunthong S., Dementia Syndrome in the Elderly: Nursing Care and Caring or Relatives Caregiver; HCU Journal, 2018. 22(43-44), 166-179. (in Thai)
3. DetPhratham P., Rehabilitation of the Elderly with Dementia. Siriraj Publisher Academic Works Office of the Dean, 2018. Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University. Bangkok: PA Living Company Limited.
4. Mueangphaisan W. Dementia: Prevention, Assessment and Care. Bangkok: Department of Preventive and Social Medicine. Mahidol University; 2013. (in Thai)
5. World Health Organization (WHO). Innovative Care for Chronic Condition: Building Block for Action. Retrieved From http://apps.who.int/diabetes/publication/icccreport/en/
6. Srinim N., Nontaput T., Professional Home-Based Care for Persons with Dementia. EAU Heritage Journal Science and Technology; 2017. 11(2): 82-89. (in Thai)
7. Department of Health Service Support. Standardized Training Course for Village Health Volunteers (Health Volunteers) Health Managers by Age Group 2014. Health Education Division, Department of Health Service Support. Ministry of Public Health. (in Thai)
8. Sutthilak C., Factors Predicting Health Status on Caregivers of Elderly People with Dementia. Journal of The Royal Thai Army Nurses; 2017, 19(1): 191-200. (in Thai)
9. Jampasri P., Factors Influencing Rehabilitation Practice for Persons with Physical Disability among Village Health Volunteers in Nakhon Pathom Province. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University; 2017,25(3): 76-88. (in Thai)
10. Phromathat P., Factors Influencing Care Readiness of Caregivers in Transitional Heart Care from Hospitals to Homes. 2011, Mahidol University / Bangkok. (in Thai)
11. Chukaew S., Knowledge, Attitude, and Practice Perceived by Nurses in Helping and Promoting Caregivers’ Health. Rama Nurs J [Internet]. 1 [cited 2020 Jun.24];18(2):249-58. Available from:
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8973 (in Thai)
12. Chon Buri Provincial Health Office Summary of the Operation According to the Ministry of Public Health's Budget Plan for the Year 2018. Chonburi Provincial Health Office. Ministry of Public Health. (in Thai)
13. Polit, D. F. & Beck, C.T. Nursing Research Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. New York: Appleton & Lange. 2012.
14. Sirsatidtrakul B., Research Methodology in Nursing (6th edition). Bangkok: Chulalongkorn University. 2012. (in Thai)
15. Best, J. W., & Khan, J. V. Research in Education. Cape Town: Pearson Education Inc.Green, L. W., & Kreu. 2006.
16. Sinjaru T., Research and Statistical Data Analysis with SPSS and AMOS (17th edition.) Bangkok: Business R&D Ordinary Partnership.2017. (in Thai)
17. Baramee J., Statistics for Health Research and Data A nalysis with SPSS program. Chonburi: Srisorn printing. 2008. (in Thai)
18. Panuthai S., Factors Related to Readiness for Hospital Discharge among Hospitalized Patients in Tertiary Hospitals. Rama Nurs Journal 2014, 23(1). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-23