ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมเสี่ยง กับความเสี่ยง ของการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ศิริพร แสงศรีจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • พรทิพย์ภา ศรีนุชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

คำสำคัญ:

knowledge of osteoporosis, risk behavior of osteoporosis, risk of osteoporosis, in elderly

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ (Descriptive correlational study)
เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุนในผู้สูงอายุ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุนกับความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 -79 ปี จำนวน 168 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน 2) แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุน ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  และตรวจสอบความเชื่อมั่นด้วยวิธี KR-21 และสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้
เท่ากับ  0.70 และ 0.71 ตามลำดับ 3) ดัชนีความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน KhonKhen Osteoporosis Study scoring system (KKOS) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติไคสแควร์
     ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน อยู่ในระดับปานกลาง (= 10.39, SD. = 2.39) พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุนในผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (= 2.65, SD. = 3.72) ความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ มีความเสี่ยงสูง ร้อยละ 63.1ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดุกพรุนทุกด้าน และความรู้
เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน อย่างมีนัยสำคัญ (p>.05)
    ผลการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดโปรแกรมเพื่อเพิ่มความรู้และแนวทางการป้องกันโรคกระดูกพรุน และควรมีการให้คำปรึกษาในเรื่องการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมสูงแก่ผู้สูงอายุ

คำสำคัญ : ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน  ความเสี่ยงของการ
              เกิดโรคกระดูกพรุน ผู้สูงอายุ


Abstract
    The purpose of this descriptive correlational study were to study knowledge of osteoporosis and risk behavior of osteoporosis in elderly and the relations between knowledge, risk behavior of osteoporosis and risk of osteoporosis among the elderly, The 168 elderly were selected from Phayao Province using the multi-staged sampling method. The instruments were 1) osteoporosis test 2) risk behavior of osteoporosis questionnaire, content validity was done by the expert , the test's reliability tested by KR-21 was 0.70 ,and the questionnaire's reliability tested by Cronbach' s alpha coefficient was 0.71.The risk of osteoporosis used the KhonKhen Osteoporosis Study scoring system (KKOS).The data was analyzed using percentage, mean, standard deviation, chi-square and Pearson's product
moment correlation coefficient.
    This study showed that most elderly had knowledge of osteoporosis and risk behavior of osteoporosis were at a moderate level.(=10.39, SD.=2.39), (=2.65,SD.=3.72). The risk of
osteoporosis in the elderly was high (63.1%). The risk of osteoporosis was not significantly correlated with knowledge of osteoporosis and risk behavior of osteoporosis (p>.05)
    Findings of this study suggest the program to increase knowledge and prevention of
osteoporosis, counseling  in risk behavior of osteoporosis, especially to consume high calcium food in elderly.

Keywords : knowledge of osteoporosis; risk behavior of osteoporosis; risk of osteoporosis;  in elderly
 







Author Biographies

ศิริพร แสงศรีจันทร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

สาวิตรี ลิ้มชัยอรุณเรือง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

พรทิพย์ภา ศรีนุชศาสตร์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 19 หมู่ 2 ถนนพหลโยธิน ตำบลแม่กา อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

นิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปี 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย