การปฏิรูปการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • เพลินตา พรหมบัวศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • จิริยา อินทนา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • กัลยา ศรีมหันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000
  • เยาวลักษณ์ มีบุญมาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

คำสำคัญ:

curriculum developmen, , authentic learning, changing attitude, humanized care

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยและพัฒนาเรื่องการปฏิรูปการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปการเรียนการสอนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ในการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะทางวิชาชีพและให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์มีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ เพื่อพัฒนาหลักสูตร พัฒนาอาจารย์ผู้สอน และพัฒนาการเรียนการสอน  มีวิธีการดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) การวิเคราะห์หลักสูตรและการเรียนการสอนที่ผ่านมา 2) การพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ที่เน้นการบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ 3) การพัฒนาอาจารย์ผู้สอน 4) การนำหลักสูตรไปใช้ในการสอนนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี ชั้นปี 2, 3 และ 4 และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และ5) การประเมินผลผลิตในการให้บริการสุขภาพจากการทำงานจริงในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า1) หลักสูตรพยาบาลศาสตร์เดิมไม่มีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ให้นักศึกษาเข้าใจชีวิตและเชื่อมโยงสุขภาพกับชีวิตจริง ใช้วิธีการสอนที่เน้นสาระมากกว่าการพัฒนาความคิดของนักศึกษา การวัดผลที่เน้นสาระที่อาจารย์สอนไม่คำนึงถึงมิติทางมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2) การพัฒนาหลักสูตรครั้งนี้ได้เพิ่มวัตถุประสงค์หลักสูตรเกี่ยวกับ มุมมองสุขภาพในมิติทางสังคม พัฒนาด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ โดยการเข้าใจมนุษย์และสังคมและการเชื่อมโยงแนวคิดทางมนุษยศาสตร์และทางสังคมศาสตร์ให้เป็นส่วนหนึ่งของสุขภาพและวิชาชีพพยาบาล ใช้การจัดการเรียนการสอนจากสภาพจริง 3) การพัฒนาอาจารย์ผู้สอนโดยการอบรมและการปฏิบัติการสอนจริงภายใต้การแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่าอาจารย์ผู้สอนประทับใจการสอนตามสภาพจริง ได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพัฒนาการคิดของนักศึกษา และเกิดการเรียนรู้ 4) การนำหลักสูตรไปใช้และการประเมินผลพบว่าคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด (=4.78, SD=1.30)  ด้านการเรียนรู้ของนักศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยการเรียนรู้จากการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก (=4.01, SD=.82) ส่วนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนการสอนพบว่าค่าเฉลี่ยสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเรียนคือการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับผู้ป่วยมากขึ้น (=4.05, SD=.86) เมื่อสิ้นปีการศึกษา 2555 นักศึกษาชั้นปีที่ 2, 3 และ4 สอบผ่านทุกคน นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาร้อยละ 84.30 ในปีการศึกษา 2555 สอบผ่านการขึ้นทะเบียนประกอบวิชาชีพการพยาบาลในการสอบครั้งแรก 5) การประเมินผลผลิตพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาพรวมของศักยภาพการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของผู้สำเร็จการศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.35, SD=.39) ความรู้ที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดทำนโยบาย การจัดการศึกษา และการบริการสุขภาพ

คำสำคัญ :  การพัฒนาหลักสูตร การสอนสภาพจริง การปรับทัศนคติ การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์


Abstract
    The research and development on instructional reform of Boromarajonani College of Nursing, Ratchaburi (BCNR) aimed to reform BCNR education in producing graduates with competencies in providing humanized care. The specific objectives were to develop curriculum, teachers, and teaching and learning. The study comprised 5 phases; 1) analysis of the existing curriculum and instructional process 2) developing nursing curriculum focusing on humanized care, 3) teacher development,
4) application of the curriculum created and evaluation in all nursing classes of BCNR, 5) evaluation of graduates as products in field working. The results are presented as following. 1) The existing nursing curriculum did not focus on the objectives of understanding about life and health relating to real life. Teaching methods emphasized in content rather than students' thoughts. Measurement was about knowledge taught, not human and social related. 2) In the curriculum developed, the objective of health in social view was added. Humanity and social concepts became part of health and nursing in the authentic teaching and learning adopted. 3) The teachers participated in training programs and were supervised by specialists. Authentic teaching was impressed those teachers. They stimulated students to change the attitude and develop thinking. They learned from practices. 4) The evaluation of curriculum application revealed that student agreement on teaching process rated by the students was in the highest level (= 4.78, SD=1.30). Mean score of learning stimulated by teaching process was in high level (= 4.01, SD=.82). The highest score of changes caused by studying was having more understand in patients (=4.05, SD=.86).  At the end of academic year 2012, all students year 2, 3, and 4 passed the examination. 84.30 percent of graduations in academic year 2012 passed the first round test and became licensed. 5) The product assessment found that mean score of graduates'
competencies in providing humanized care to clients was in highest level (= 4.78, SD=.39). The gained from the study can be used for policy-making, nursing education, and nursing practice.

Keywords : curriculum developmen;, authentic learning; changing attitude; humanized care



Author Biographies

เพลินตา พรหมบัวศรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

 

จิริยา อินทนา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 

กัลยา ศรีมหันต์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี 84/21 ถ.คฑาธร ต.หน้าเมือง จ.ราชบุรี 70000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย