รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลสู่นักสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ศรีสมพร ทรวงแก้ว ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000
  • อนัญญา คูอาริยะกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

คำสำคัญ:

Competency Development Model, Nurse Students, Health Promotion Practitioner

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลสู่
นักสร้างเสริมสุขภาพ ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อยคือ 1) การศึกษาสภาพปัจจุบัน และแนวทางในการพัฒนานักศึกษาพยาบาลให้มีสมรรถนะในการเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ โดยการสนทนากลุ่มกับอาจารย์พยาบาล จำนวน 20 คน นักศึกษาพยาบาล จำนวน 32 คน และสัมภาษณ์พยาบาลผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ตรงด้านการ
สร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) 2) การสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจสอบความตรงโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) ขั้นตอนที่ 2 การประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ โดยทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 จำนวน
77 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
    1.รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย/วิสัยทัศน์ของวิทยาลัยพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ต้องกำหนดให้ชัดเจนและทุกคนรับทราบ มีศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพ จัด
สิ่งแวดล้อมภายในวิทยาลัยพยาบาลที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะด้านสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ
ที่นักศึกษาสามารถปฏิบัติกิจกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพตนเองได้  2) กระบวนการ ได้แก่ การให้
ความรู้ และสร้างเจตคติที่ดีด้านการสร้างเสริมสุขภาพกับอาจารย์และนักศึกษา  การเสริมสร้างพลังอำนาจด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้กับอาจารย์และนักศึกษา  การสร้างความเข้าใจกับอาจารย์เกี่ยวกับแนวทาง
การบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชา/กิจกรรมเสริมหลักสูตร และมีการดำเนินการบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพในรายวิชาและกิจกรรมเสริมหลักสูตร โดยครอบคลุมสาระด้านการบริหารจัดการ
การปฏิบัติกิจกรรม การจัดการความรู้ และการสร้างภาคีเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 3) ผลลัพธ์ ได้แก่ การเป็นนักสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล ในด้านพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ  และเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
    2.ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพ  พบว่า หลังการใช้รูปแบบ นักศึกษาพยาบาลมีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อน
การใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพพบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อศึกษาในเชิงคุณภาพ พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีเจตคติต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ดีกว่าก่อน
การใช้รูปแบบ
    ผลการวิจัยครั้งนี้ จะเป็นแนวทางให้สถาบันการศึกษาพยาบาลดำเนินการพัฒนาสมรรถนะ
นักศึกษาพยาบาลให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

คำสำคัญ : รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะ   นักศึกษาพยาบาล   นักสร้างเสริมสุขภาพ


Abstract
    This research aimed to develop model enhancing nurse students’ competency toward a health promotion practitioner. Research and development approach (R & D) was utilized with two steps as follows. The first step involved the development of model enhancing nurse students’ competency regarding health promotion practitioner. This step included two phases; First, a study of current
situation and mean to develop nurse students regarding health promotion practitioner was undertaken using focus groups of 20 staff and 32 nurse students, and in-depth interview of 5 health promotion practitioners. Second, a model enhancing nurse students’ competency related to health promotion was developed, using a connoisseurship. The second step involved the evaluation of developed model, using an experimental research among 77 year-two nurse students. Data were analyzed using
descriptive statistic and t-test comparison.  The study revealed that;
    1. The model developing nurse students’ competency regarding health promotion consisted of 3 components; 1) Input components included that college’s policy and vision with the emphasis of health promotion should be clear and well perceived among faculty. Also, college has a health
promotion excellence center, and provides environment and material that students can use for health promotion.  2) Process component were associated with improving staff’s understanding and attitudes regarding health promotion, empowering staff and students, and promoting the integration of health promotion into subjects and academic activities. Management, activities, knowledge management and network collaboration should be maintained. 3) Output component were nurse students as health promotion practitioners including behaviors, competency and attitudes regarding health promotion.
    2. The evaluation of model developing nurse students’ competency shows that nurse students reported an increase in health promotion competency at a significant level of .001, but no difference in health promotion behaviors. According to qualitative study, nurse students reported positive attitude towards health promotion.
    The findings suggest any college to adopt model developing nurse students’ health
promotion competency so that people’s quality of life would be improved.
 
Keywords : Competency Development Model; Nurse Students; Health Promotion Practitioner

Author Biographies

ศรีสมพร ทรวงแก้ว, ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์

อนัญญา คูอาริยะกุล, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 38/40 ถ.เจษฎาบดินทร์ ต. ท่าอิฐ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ 53000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี อุตรดิตถ์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย