สุขภาพจิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • บูรณ์คณัส จันทรศิริพุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • พิชญ์ชญานิษฐ์ รองสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • อัจฉรา มุสิกวัณณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000
  • พวงผกา ดำรงเสรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

คำสำคัญ:

Mental Health, Self-Care Behaviors, School Adolescents

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับสุขภาพจิต และพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลาย จังหวัดยะลา ปีการศึกษา 2551 โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 428 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินภาวะสุขภาพจิต GHQ-12 ฉบับไทยของธนา นิลชัยโกวิทย์ และคณะ11 และแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต ดัดแปลงมาจากแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตของจินตนา  ยูนิพันธุ์6 ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .82 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.9 มีสุขภาพจิตปกติ และร้อยละ 41.1 มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 82.7 โดยมีพฤติกรรมด้านการพัฒนาการรู้จักตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.09, SD = .43) และด้านการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด
(= 2.78, SD = .38) ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางช่วยเหลือ
ส่งเสริม และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของวัยรุ่นในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดยะลา ต่อไป

คำสำคัญ : สุขภาพจิต  พฤติกรรมการดูแลตนเอง  วัยรุ่นในโรงเรียน


Abstract

The purposes of this research were to study levels of mental health and mental health self-care behavior among adolescents in secondary schools in Yala Province. The samples comprised 428 adolescents who were studying in secondary schools in Yala Province in the academic year 2008.  Data were collected using a set of questionnaires. Mental health questionnaire Thai GHQ-12 of Tana  Nilchaikovit and others and mental health self-care behavior adapted from Jintana Yunibhand. The reliability of using Cronbach’s alpha coefficient was .82 and .86 respectively. Data were analyzed using descriptive statistics including frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of the study indicated that 1) 58.9 percent of subjects showed normal mental health. However, the study showed that 41.1 percent of subjects had a mental health problem 2) 82.7 percent of them had a moderate level of mental health self-care behaviors. In particular, self awareness behavior had the highest mean score (= 3.09, SD = .43) and effective time management behavior had the lowest mean (= 2.78, SD = .38). The results in the study can be used as basic information in order to set policy, and provide guideline for prevention of and solutions for mental health of adolescents in Yala Province. The results are also expected to promote mental health self-care behavior of these students.

Keywords :  Mental Health, Self-Care Behaviors, School Adolescents






Author Biographies

บูรณ์คณัส จันทรศิริพุทธ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

พิชญ์ชญานิษฐ์ รองสวัสดิ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

อัจฉรา มุสิกวัณณ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

พวงผกา ดำรงเสรี, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา 95/57 ถ.เทศบาล 1 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย