การพัฒนาตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
Development, Indicator, Leadership, Strategiesบทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และทดสอบความสอดคล้องในความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดชัยภูมิ ที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ใช้ระเบียบการวิจัยแบบการผสมผสานวิธี (Mixed Methodology Approaches) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 641 คน
เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโครงสร้างองค์ประกอบตัวชี้วัดภาวะผู้นำ
เชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ
การวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันผลการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบหลักของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การนำองค์กร การดำเนินการเชิง
กลยุทธ์ และการติดตามประเมินผลเชิงกลยุทธ์ โดยทั้งสามองค์ประกอบหลักจะต้องปฏิบัติผ่านตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบย่อยทั้งหมด 12 องค์ประกอบ และตัวแปรที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ จำนวน 115 ตัวแปร ประกอบด้วย การนำองค์กร จำนวน 71 ตัวแปร การดำเนินการเชิงกลยุทธ์ จำนวน 35 ตัวแปร และ
การติดตามประเมินผลเชิงกลยุทธ์ จำนวน 9 ตัวแปร
ผลการตรวจสอบความสอดคล้องเชิงโครงสร้างของตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้ค่าไค-สแควร์ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว พบว่า ตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลจริงอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ : การพัฒนา ตัวชี้วัด ภาวะผู้นำ กลยุทธ์
Abstract
The objective of this research were I) to construct and develop the strategic leadership
indicator of director of sub-district health promotion hospital and II) to exam the congruence of develop causal in the strategic leadership indicator of director of sub-district health promotion hospital with the empirical data. Research methodology is mixed methodology approaches. The samples in this study were 641 directors of sub-district health promotion hospital and stakeholder, selected by multi-stage random sampling. Data were collected by questionnaire and focus group interview. Data were analyzed by basic statistic value, confirmative analysis, and factor analysis, second order confirmation for testing congruence of factor construct model of sub-district health Promotion hospital, and empirical data.
The result found that:
The main factors of strategic leadership indicator of director of sub-district health promotion hospital were the leadership, the strategic implement and strategic evaluation, respectively. All of 3 main factors have 12 sub-factors and 115 of strategic leadership indicators including 71 of leadership indicators, 35 of strategic implement indicators and 9 of strategic evaluation indicators. Finally, the result for the investigation of congruent constructs validity on the strategic leadership indicator model of director of sub-district health promotion hospital.
The result on the investigation of the construct validity of the strategic leadership indicator of director of sub-district health promotion hospital by using Chi-square, the indicators measuring
congruence and the indicators measuring the adjusted congruence value, the result found that the strategic leadership indicator have consistency significant with the empirical data.
Keywords : Development, Indicator, Leadership, Strategies