ประสิทธิภาพของบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เรื่อง ระบบโครงกระดูกร่างกาย*

ผู้แต่ง

  • ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ 131/5 ถนนขาว ดุสิต กรุงเทพฯ 10300

คำสำคัญ:

Web-Based Instruction, effectiveness, skeletal system.

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                สื่อการเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่าย เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษา ที่ช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง  เพื่อพัฒนาสื่อการสอน ด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่ายรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาที่ผู้วิจัยพัฒนา และสร้างขึ้นเอง เรื่อง ระบบโครงกระดูกร่างกาย สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนเรียน และหลังเรียนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่าย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษา ในการเรียนการสอนด้วยบทเรียนบนระบบเครือข่าย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ได้ทำคัดเลือกนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน แบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือบทเรียนบนระบบเครือข่าย วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เรื่องระบบโครงกระดูกร่างกาย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบสอบถาม ความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t–test  ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนบนระบบเครือข่ายที่ผู้วิจัยได้ทําการพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ (E1/E2) 81.20/81.15 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80 โดยผู้เรียนทำแบบฝึกหัดท้าย บทเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 81.20 ทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 81.15  ผลสัมฤทธิ์ หลังการเรียนของกลุ่มตัวอย่างมีค่าสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ <.001 แสดงว่าบทเรียนบนระบบเครือข่ายที่สร้างขึ้นนี้ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง และวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจ ของนักศึกษาพยาบาล ต่อบทเรียนบนระบบเครือข่ายที่ผู้วิจัย ได้พัฒนาขึ้น พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจในส่วนของเนื้อหา ส่วนการนำเสนอ และส่วนแบบฝึกหัดท้ายบทอยู่ในระดับมาก  ส่วนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักศึกษา มีดังนี้ สื่อการเรียนการสอนดังกล่าวทำให้เข้าใจเนื้อหาเรื่องระบบโครงกระดูกเพิ่มมากขึ้น สามารถทบทวนได้ด้วยตนเอง และพบว่าอุปสรรคในการใช้สื่อการสอนนี้คือ  นักศึกษาส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ที่หอพักของวิทยาลัยฯ จึงมีข้อจำกัดด้านจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ไม่เพียงพอต่อ
ความต้องการของนักศึกษา และความพร้อมของระบบอินเทอร์เน็ตของวิทยาลัยฯ

ASTRACT

                Web-based instruction (WBI) is an educational technology that helps students to learn by themselves. The purposes of this study were: 1) to develop the efficient web-based instruction focused on skeletal system on Anatomy & Physiology course at 80/80 criterion standard, 2) to compare the learning achievement between pretest and posttest of the students learning through web-based instruction, and 3) to study students’ satisfactions about learning through web-based instruction. The samples consisted of 30 first year nursing students. The instruments used in this study were web-based instruction on skeletal system, learning achievement test and satisfaction questionnaire. The statistics used in the analysis were percentage, mean, standard deviation and        t-test. The results of the study showed that the web-based instruction on skeletal system were efficiency at 81.20/81.5.  The students had the posttest score significantly higher than the pretest score (p <.001).  Majority of the students reported high satisfactions on learning through  web-based instruction.

                Suggestions and comments from students revealed that the web-based instruction both helped them understand more in the Anatomy and Physiology of skeletal system and enabled to review contents anytime they wanted. As the majority of the students stayed in the students’ dormitory and had spend free time in dormitory for self study, both the limitation of computer per students and lack of internet access were perceived as barriers to the web-based instruction.  The computer and internet service at the college are necessary for the web-based instruction. 

เผยแพร่แล้ว

2012-06-22

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย