ผลของการไหลของน้ำนมในหญิงหลังคลอดที่ถูกนวด-ประคบ เต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพร

ผู้แต่ง

  • ชุติมาพร ไตรนภากุล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • มณฑา ไชยะวัฒน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • วิวัฒน คณาวิฑูรย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • รัชกร เทียมเท่าเกิด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • สุวรรณี นาคะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • วิมล มิตรนิโยดม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
  • สุทธารัตน์ แป้นลาภ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

คำสำคัญ:

breast massage, compression, herbal compress, mini hot bag

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                น้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อยเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของหญิงหลังคลอด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบคะแนนการไหลของน้ำนมหญิงหลังคลอดที่มีปัญหาน้ำนมไม่ไหลหรือไหลน้อยหลังจากถูก
นวด-ประคบเต้านมด้วยกระเป๋าน้ำร้อนและลูกประคบสมุนไพรโดยศึกษาในหญิงหลังคลอดซึ่งน้ำนมไม่ไหลหรือ ไหลน้อยจำนวน 70 ราย ซึ่งคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ  ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรีตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2550 ถึงพฤศจิกายน 2550 กลุ่มตัวอย่างถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มควบคุม  37 รายซึ่งได้รับการนวดเต้านมทั้ง 2 ข้างนาน  10 นาที  แล้วประคบเต้านมทั้ง 2 ข้างด้วยกระเป๋าน้ำร้อนนาน 10 นาทีและกลุ่มทดลอง 33 รายซึ่งได้รับการนวด เต้านมทั้ง 2 ข้างนาน 20 นาที แล้วประคบเต้านมทั้ง 2 ข้างด้วยลูกประคบสมุนไพรนาน 40 นาที  หลังจากนั้นที่เวลา 0, 1 และ 3 ชั่วโมงหลังการนวด-ประคบ พยาบาลได้ประเมินคะแนนการไหลของน้ำนมโดยวิธีบีบน้ำนม โดยจำแนกคะแนนการไหลของน้ำนมเป็น 5 ระดับ ได้แก่ 0 ถึง 4 (น้ำนมไม่ไหล, ไหลน้อย, เริ่มไหล, ไหลแล้ว และไหลดี ตามลำดับ)

                จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า คะแนนการไหลของน้ำนมมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักทารกที่เพิ่มขึ้น
หลังการดูดนมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้วิจัยจึงประเมินคะแนนการไหลของน้ำนมจากลักษณะ
การไหลของน้ำนมที่สังเกตได้หลังการบีบน้ำนมแทนน้ำหนักทารกที่เพิ่มขึ้นหลังการดูดนมแม่ ใช้สถิติ Mann-
Whitney U Test เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนการไหลของน้ำนมก่อนและหลังการนวด-ประคบ
แต่ละวิธี  ปรากฏว่าหลังการนวด-ประคบแต่ละวิธี  คะแนนการไหลของน้ำนมที่เวลา 0, 1 และ 3 ชั่วโมงหลังการ
นวด-ประคบมากกว่าคะแนนการไหลของน้ำนมก่อนการนวด-ประคบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างการนวด-ประคบทั้ง 2 วิธี  หลังการนวด-ประคบ 0, 1 และ 3 ชั่วโมง คะแนนการไหลของน้ำนม หลังการนวด-ประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรมากกว่าคะแนนการไหลของน้ำนมหลังการนวด-ประคบ ด้วยกระเป๋าน้ำร้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.018, p=0.028 และ p=0.004 ตามลำดับ) 

                การนวด-ประคบเต้านมด้วยลูกประคบสมุนไพรจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการให้บริการแก่หญิง หลังคลอด ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลวิชาการสำหรับการพัฒนาระบบบริการเพื่อเอื้อให้หญิง หลังคลอดประสบความสำเร็จ  ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป

Abstract

                Insufficient milk supplied is still an important problem of postpartum mothers. This prospective                 experimental research was conducted from June 2007 through November 2007 at the Health Promoting Hospital, the 4th Regional Health Promotion Center, Ratchaburi. The objective of this research was to compare milk ejection scores from observed milk ejection performance between 2 types of breast- massaged and compression styles, the breast massage with mini hot bag compression as the control group and the Thai traditional breast massage combined with Thai herbal compression as the experimental group. A total of 70 insufficient milk supplied            postpartum mothers who had feature as the inclusion criteria were purposively selected into these 2 groups. Both breasts of the control group were continuously massaged for 10 minutes and then compressed with mini hot bag for 10 minutes by a  nurse. Both breasts of the experimental group were continuously massaged by the Thai traditional style for 20 minutes and then compressed with the Thai herbal compress for 40 minutes by a masseuse. Milk ejection scores of both groups were evaluated at 0, 1 and 3 hours after the compression. Milk ejection scores were               categorized into 5 levels of observed milk ejection performance, (0-4).

                From the preliminary result, it was found that the milk ejection score was associated with the infant’s increased weight after milk consumption during each breast-feeding (p<0.05).  So the milk ejection score was used to evaluate the infant’s increased weight after milk consumption. The data were compared and analyzed with descriptive statistics and Mann-Whitney U Test. There were 37 and 33 volunteers in the control and experimental group, respectively. Milk ejection scores of both groups at 0, 1 and 3 hours after the compression were significantly more than that of the pre-massage period (p<0.05). At these three points of time, milk ejection scores of the experimental group were significantly more than that of the control group (p=0.018, p=0.028 and p=0.004,           respectively).

                This result shows that Thai traditional breast massage combined with Thai herbal compression is another choice of service to solve the breast-feeding problem of postpartum mothers. This result could be used to develop a service system   in order to support those postpartum mothers to succeed in breast- feeding.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-07

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย