การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันประโยชน์ของสยามหัวเราะ
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันประโยชน์ของสยามหัวเราะ
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ประโยชน, สยามหัวเราะบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบ
ประโยชน์ของสยามหัวเราะกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของประชาชนในหมู่บ้านท่าช้าง ตำบลหนองหมากฝ้าย
อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ที่เข้าร่วมโครงการสยามหัวเราะที่ประยุกต์แนวคิดหัวเราะบำบัดด้วย
สยามหัวเราะของวัลลภ ปิยมโนธรรม มาใช้ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างสุ่มเลือกแบบเจาะจง (Purposive
Sampling) จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสำเร็จของการฝึก
สยามหัวเราะแบบมาตราส่วน 5 ระดับ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา (Index of Item Objective Congruence
: IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน เท่ากับ 0.87 ค่าความเชื่อมั่นของสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cranach’s alpha
coeffcient) เท่ากับ 0.94 เก็บรวบรวมข้อมูลเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
(Confrmatory Factor Analysis ) ด้วยโปรแกรม LISREL
ผลการวิจัย พบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.68) อายุเฉลี่ย 54 ปี ระดับการศึกษาประถม
ศึกษา (ร้อยละ 65.36) อาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 60.33)
2. องค์ประกอบประโยชน์ของสยามหัวเราะ 5 องค์ประกอบ คือ 1) ด้านสัมพันธภาพ
2) ด้านร่างกาย 3) ด้านความคิด 4) ด้านอารมณ์ และ 5) ด้านพลังชีวิต มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ
0.91, 0.79, 0.74, 0.72 และ 0.71 ตามลำดับ
3. ผลการตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบกับประโยชน์ของสยามหัวเราะกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ พบว่า ค่าดัชนีความกลมกลืน χ2 = 7.47, df = 4, p = 0.11, GFI = 1.00, CFI =1.00,
AGFI = 0.94 RMSEA = 0.07 และRMR = 0.007 แสดงว่า องค์ประกอบประโยชน์ของสยามหัวเราะ
มีความสอดคล้องกลับข้อมูลเชิงประจักษ์
ผลการศึกษานี้ แสดงให้เห็นว่าแนวคิดหัวเราะบำบัดด้วยสยามหัวเราะเป็นแนวทางในการสร้าง
สุขภาวะที่ดีที่เหมาะสมกับบุคคลทุกช่วงวัย ทั้งนี้จะเห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมสยามหัวเราะ
มีความหลากหลายช่วงวัย
References
1. World Health Organization. Global
Strategy on Human Resources for
Health: Workforce 2030. Geneva, 2016.
2. Pensute, C. Thailand 4.0 Economics
and Political Contexts. Political Science
and Public Administration Journal,
2017; 8(1): 67-99. (in Thai)
3. The National Statistical Offce. Statistical
Yearbook Thailand 2018. Bangkok,
2018. (in Thai)
4. Dudsadeemaytha, J., Noklang, S.,
Chanfong, R., and Soonthronchai, S.
The Development of Happiness Model
in Older Adults Via Siam Laughter
Therapy through Community–based
Participatory Action Research: A Case
Study of Bann Tachang Community,
Wattananakon District, Srakaew Province.
Area Based Development Research
Journal, 2015; 7(1): 31-36. (in Thai)
5. The National Statistical Offce. Preliminary
Results of the Elderly Population
Survey in Thailand 2014. Bangkok,
2014. (in Thai)
6. Piyamanotom, W., Dudsadeemaytha,
J. Laughing Therapy. Health Conscious
Magazine. Bangkok, 2007. (in Thai)
7. Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson,
R.E., and Tatham,R.L. Multivariate Data
Analysis. 7thed. Upper Saddle River,
New Jersey: Pearson Education, Inc.,
2014.
8. Phoawchit, C., Tiamtan, P. A Development
of Health Promotion Activities Model
for Aging in Nakhon-sawan Province.
Suthiparithat Journal, Dhurakij Pundit
University, 2016; 30(94): 112-127.
(in Thai)
9. Duangjaidee, P., Na Pompetch, K.,
Khanbunjan, W., & Kultes, T. The
Development of Recreational Activities
for Elderly. Journal of Education and
Human Development Sciences, 2018;
2(2): 112–121. (in Thai)
10. Dudsadeemaytha, J. A Study and
Development of 3-Self Health Behaviors
Program for Risky Traffc Policemen.
Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla
University, Hat Yai Campus, 2015; 7(2):
40–58. (in Thai)
11. Beckman, H., Regier, N., & Young, J.
Effect of Workplace Laughter Groups
on Personal Effcacy Beliefs. The
Journal of Primary Prevention, 2007;
28(2): 167-182.
12. Suwanmanee, S., Nanthamongkolchai, S.,
Munsawaengsub, C., Taechaboonsermsak,
P. Factors Influencing the Mental Health
of the Elderly in Songkhla, Thailand.
Journal of the Medical Association of
Thailand, 2012; 95(Suppl 6): S8-S15.
13. Chaidachatorn, S., Thipsungnoen,
T., & Kaewprom, K. Mental Health
Status among the Elderly Persons
in Nakhonratchasima Province. The
Journal of Boromarajonani College
of Nursing, Nakhonratchasima, 2015;
21(1): 31-40. (in Thai)