การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสาน

การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสาน

ผู้แต่ง

  • ภัทรธิรา ผลงาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสาน, สุขภาวะชุมชน, รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะชุมชน โดยใช้ภูมิปัญญาหมอ
พื้นบ้านอีสานด้านสมุนไพร โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัย
เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติร่วมกัน ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึก
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม
ผลการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอีสานด้านสมุนไพร
โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
มีการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมสุขศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเยาวชนใน
โรงเรียนชุมชน 2) การจัดสวนสมุนไพรในโรงเรียน และ 3) การใช้ยาสมุนไพรไทยในการรักษาขั้นพื้นฐาน
แทนยาแผนปัจจุบัน รูปแบบที่ 2 การจัดทำสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาหมอพื้นบ้าน โดยการจัดทำ
สื่อการเรียนรู้ หนังสือและซีดีรอมเรื่อง 1) สมุนไพรในจังหวัดเลย และ 2) ตำรับสมุนไพรพื้นบ้านอีสาน
และรูปแบบที่ 3 การเผยแพร่องค์ความรู้หมอพื้นบ้านสู่ประชาชน ได้ดำเนินโครงการคาราวาน
หมอพื้นบ้านสืบสานภูมิปัญญาในการดูแลสุขภาวะชุมชน

References

REFERENCES
1. Jongwutthiwate, K., et al. Development
of Community Based Learning Process in
Plakmailay, Kamphaeng Saen District,
Nakhon Pathom Province. Nakhon
Pathom: Petchakasem Publishing,
2003. (in Thai)
2. Matkum, S. The Development of the
Succession Process of Folk Wisdom in
Thailand and Lao People’ s Democratic
Republic. Thesis of Doctor of Philosophy.
Loei: Rajabhat Loei University, 2009.
(in Thai)
3. Taoprasert , Y. Way of Health Care in
Lanna Folk Medicine System. Bangkok:
Thailand Research Fund, 2003. (in Thai)
4. Onchomchant, D. Treatment of fractures
of folk healers, Phaya Mengrai District,
Chiang Rai Province. Research report
, Nontaburee : Offce of the Primary
Health Commission Ministry of Public
Health. (in Thai)
5. Vibulchai, R. The Existence of Folk
Medicine: A Case Study of Na-sida
Village, Kutapun Subdistrict, Kut Khaopun
District, Ubon Ratchathani Province.
Thesis of Master Degree of Nursing
Science. Bangkok: Mahidol University,
1995. (in Thai)
6. Khanchaiyanont, C. and Pinbun, B.
Research Project on the Potential
of Local Medicine Doctors in Lom
Kao District, Phetchaboon Province.
Bangkok: Thai Traditional Medicine
Institute, Department of Medical
Services, Ministry of Public Health,
1997. (in Thai)
7. Ooytrakul, P. Research Report:
Role of Traditional Healers in
Rural Northeast of Thailand.
Khon Kaen: Research and Development
Institute, Khon kaen University, 1998.
(in Thai)
8. Phon-ngam, P. A Development of
Traditional Herbal Medicine Recipes
for Communities’ Treatment. Loei:
Ratchaphat Loei University, 2011. (in
Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-03