ผลของการใช้กระบวนการพยาบาลในกรณีศึกษาต่อความรู้ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี*
คำสำคัญ:
knowledge, ability of implemening nursing process, case - based, nursing practice.บทคัดย่อ
บทคัดย่อการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ
เปรียบเทียบความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล และความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษา และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ตามการรับรู้ของอาจารย์ก่อนและหลังได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษา
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรม
ราชชนนี ชลบุรี ที่ฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 ภาคการศึกษาที่ 3 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยประกอบด้วย แผนการสอน เรื่อง กระบวนการพยาบาลโดยใช้กรณีศึกษา แบบทดสอบความรู้ เรื่อง กระบวนการพยาบาล แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล และมีความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลตามการรับรู้ของนักศึกษา หลังได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษา มากกว่าก่อนการ สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลตามการรับรู้ของอาจารย์หลังได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษา มากกว่าก่อนการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการสอนโดยใช้กรณีศึกษาในรูปแบบของการใช้กระบวนการพยาบาลจะช่วยให้นักศึกษามีความรู้เรื่องกระบวนการพยาบาล และสามารถใช้กระบวนการพยาบาลในการฝึกภาคปฏิบัติได้เข้าใจมากขึ้น
คำสำคัญ : ความรู้ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล กรณีศึกษา การฝึกปฏิบัติการพยาบาล
Abstract
The purposes of this quasi - experimental one group pre-post test design study were to compare knowledge of nursing process and ability of implementing nursing process before and after clinical teaching on nursing process using case - based and to compare ability of implementing nursing process before and after clinical teaching on nursing process using
case-based as perceived by nursing students . The sample included 39 second year nursing students of Boromarajonani College of Nursing, Chonburi who were practicing Nursing Care for Persons with Health Problems Practicum 1 in the third semester,academic year 2010.The research
instruments consisted of clinical teaching plans on nursing process using case-based method, a test of knowledge in nursing process and an evaluation form assessing ability of implementing nursing process. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation , Wilcoxon Signed Rank Test The results revealed that
1. A mean score of knowledge in nursing process and nursing students'ability of implementing nursing process as perceived by nursing students after implementing a clinical teaching on nursing process using case - based was higher than it was before implementing at a .05 statistically significant level.
2. A mean score of nursing students'ability of implementing nursing process as perceived by instructors after implementing a clinical teaching on nursing process using case-based was higher than it was before implementing at a .05 statistically significant level .
The results after the experiment showed that clinical teaching on nursing process using case - based were encourage nursing students more understanding on knowledge of nursing process and ability of implementing nursing process to practice nursing care.
Keywords : knowledge , ability of implemening nursing process , case - based , nursing practice.