ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการฝึกปฏิบัติทางคลินิกต่อความคิดเชิงวิพากษ์และความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ชัยอาจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • ทิพาพร วงศ์หงษ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • ชมพูนุท ศรีรัตน์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • ทศพร คำผลศิริ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • วารุณี ฟองแก้ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
  • ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

life skill problem based learning critical thinking emotional quotient nursing students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                        การจัดการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางคลินิกที่ดีนั้น ควรส่งเสริมให้
นักศึกษาเกิดความคิดเชิงวิพากษ์และมีความฉลาดทางอารมณ์ การคิดเชิงวิพากษ์เป็นกระบวนการ ทางสติปัญญาที่ช่วย ให้การตัดสินใจทางการพยาบาลนั้นเป็นไปอย่างเหมาะสม ส่วนการมีความฉลาด ทางอารมณ์ทำให้สามารถจัดการกับภาวะอารมณ์ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ นักศึกษามีความพร้อมในด้านการเรียนและส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี

                        การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษากึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการฝึกปฏิบัติทางคลินิกต่อความคิด
เชิงวิพากษ์และความฉลาดทางอารมณ์  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จำนวน 51 คน โปรแกรมประกอบด้วยการพัฒนาทักษะชีวิตก่อนการฝึกปฏิบัติ และการเรียนรู้โดยใช้ ปัญหาเป็นหลักตลอดระยะเวลาของการฝึกปฏิบัติ 6 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนความคิดเชิงวิพากษ์ประเมินโดยใช้แบบประเมินแผนผังความคิด และความฉลาดทางอารมณ์ประเมินโดยแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต

                ผลการศึกษาพบว่าหลังจากเข้าร่วมโปรแกรม  ความคิดเชิงวิพากษ์ซึ่งเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ย ของการทำแผนผังความคิดของกรณีศึกษาในสัปดาห์แรก และแผนผังความคิดของกรณีศึกษาในสัปดาห์ สุดท้ายของการฝึกปฏิบัติ  พบว่าคะแนนเฉลี่ยของแผนผังความคิดในสัปดาห์สุดท้ายมากกว่าคะแนนเฉลี่ย แผนผังความคิดในสัปดาห์แรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  p < .05  สำหรับความฉลาดทางอารมณ์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์ในมิติด้านเก่งสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .01  ส่วนคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์มิติด้านดี และด้านสุข ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ การใช้โปรแกรมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการฝึกปฏิบัติทางคลินิก โดยใช้การพัฒนา ทักษะชีวิตร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นวิธีการที่มีประโยชน์ในการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาความคิดเชิงวิพากษ์ และความฉลาดทางอารมณ์

Abstract

This one group pre and post test quasi-experimental design aims to study the effect of clinical practice potential development program on critical thinking and emotional quotients. The sample was 51 third year nursing students, Faculty of Nursing, Chiang Mai University. The program included life skill at the beginning of the course and problem based learning throughout 6 weeks of the course. Data were collected by using Demographic Data Questionnaire, critical thinking was evaluated by scoring on concept map and emotional quotient was evaluated by the Emotional Quotient Questionnaire of Department of Mental Health. .

The results showed that after enrolled in the program, critical thinking score that was evaluated by comparing the score of concept map in the last week to concept map in the first week, the mean score of the last concept map had higher than those of the first concept map at the p <.05. For emotional quotients, the mean score of emotional quotients in virtue dimension was significantly higher that those before implementing the program at the p < .01, while the mean scores of competence dimension and happiness dimension were not significantly different between at the end and before implementing the program.

Using the Student’s Clinical Practice Potential Development Program by implementing life skill and problem based learning is a useful method in order to enhance critical thinking and emotional quotient of the students.

In order to improve clinical practice achievements, it is important to enhance the students to have a critical thinking and emotional quotient. Critical thinking is a cognitive process enhancing appropriate a clinical nursing practice while emotional quotient enhances the decision making ability in dynamic situations. They help to prepare for learning and facilitate the educational achievements for the students.

เผยแพร่แล้ว

2012-06-07

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย