การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน จุดคุ้มทุน รูปแบบ (Model) รายได้สุทธิ และความคุ้มค่า ในการผลิตบัณฑิตของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา ปีงบประมาณ 2558-2559

Comparison Analysis of Cost, Break-even Point, Net Income Model and Value of Nursing Science Program, Boromarajonani College of Nursing, Phayao in Fiscal Year 2015-2016

ผู้แต่ง

  • นครินทร์ นันทฤทธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • พร บุญมี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • สุทธินี มหามิตร วงค์แสน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • เอกชัย หมื่นขัติย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • กนกวรรณ ปันภู วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

คำสำคัญ:

ต้นทุนต่อหน่วย, จุดคุ้มทุน, รายได้สุทธิ, ความคุ้มค่า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยการผลิต  จุดคุ้มทุน รูปแบบ (Model) รายได้สุทธิ  และเปรียบเทียบต้นทุนต่อหน่วยการผลิต จุดคุ้มทุน รูปแบบ (Model) รายได้สุทธิ และความคุ้มค่า การผลิตบัณฑิตพยาบาล ระหว่างปีงบประมาณ 2558-2559 โดยทำการเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557- 30 กันยายน 2559 ซึ่งพิจารณาจากหน่วยสนับสนุนและหน่วยการเรียนการสอน

ผลการศึกษาพบว่า ในปีงบประมาณ 2558 มีต้นทุนทางตรงเท่ากับ 22,069,049.64 บาท และต้นทุนทางอ้อมเท่ากับ 30,667,090.80 บาท คิดเป็นต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ 52,736,140.44 บาท และปีงบประมาณ 2559 พบว่ามีต้นทุนทางตรงเท่ากับ 21,308,685.96 บาท ต้นทุนทางอ้อมเท่ากับ 30,576,252.61 บาท คิดเป็นต้นทุนรวมทั้งหมดเท่ากับ  51,884,938.57 บาท โดยในปีงบประมาณ 2558 มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 129,255.25 บาท และ 135,587.85 บาท/FTES ในปีงบประมาณ 2559 มีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากับ 126,858.04 บาท และ 128,782.25 บาท/FTES และปีงบประมาณ 2558 มีจุดคุ้มทุนเท่ากับ 404.14 ในปีงบประมาณ 2559 มีจุดคุ้มทุนเท่ากับ 384.21 ส่วนรูปแบบ (Model) รายได้สุทธิ ในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 พบว่า เมื่อเพิ่มจำนวนการผลิตบัณฑิต ส่งผลให้รายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้นหรือมีค่าเป็นบวก สำหรับในด้านความคุ้มค่า พบว่า ในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิตพยาบาล ทั้งมิติประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบ และโอกาสในการแข่งขัน โดยปีงบประมาณ 2559 ความคุ้มค่า ด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโอกาสในการแข่งขัน ดีกว่าในปีงบประมาณ 2558

References

1. Office of the Public Sector Development Commission. Public Sector Development: Strategic for Change of Office of the Public Sector Development Commission, Office of the Civil Service Commission. Bangkok: Pimluck, 1998. (in Thai)
2. Royal Decree on Criteria and Procedures for Good Governance, B.E. 2546. Royal Thai Government Gazette, Vol 10; Section 100ก. [online]. 2017 [cited 2017/8/1]. Available from: http://www.sac.or.th. (in Thai)
3. Office of the Higher Education Commission. Manual of Internal Quality Assurance in Higher Education, Year 2014. 3rd ed. Bangkok: Pappim, 2017. (in Thai)
4. Planning Division, Office of the Chiang Mai University. Unit Cost of Chiang Mai University in Fiscal Year 2009. Chiang Mai University, 2011. (in Thai)
5. Wattananon, Y., Boonthong, T., Auttaseree, S. Cost Analysis for Production of Nursing Students, Faculty of Nursing, Mahidol University. Thai Journal of Nursing Council, 2000; 15(1): 34-45. (in Thai)
6. Singweeratham, N. Manual of Unit Cost of Producing Nursing Student under Praboromarajchanok Institute. Bangkok [Mimeographed.], 2015. (in Thai)
7. Office of the Higher Education Commission. Quality Assurance Manual in Higher Education of Year 2014. Bangkok: Pappim, 2017. (in Thai)
8. Boonmee, P., et al. Annual Report, Year 2014. Boromarajonani College of Nursing, Phayao, 2014. (in Thai)
9. Boonmee, P., et al. Annual Report, Year 2015. Boromarajonani College of Nursing, Phayao, 2015. (in Thai)


10. Office of the Higher Education Commission. Report of Thailand Quality Registered Curriculum [online]. 2017 [cited 2018/5/31]. Available from: https://www.eqa.rmutt.ac.th. (in Thai)
11. The Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). Manual of Quality Assurance in Higher Education Round 2 (Year 2006-2010). 4th ed. Bangkok, 2008.
12. Panawatthanapisuit, S., Intarakumhang na rachasima, S., Suwannasarn, S., & Boonmee, C. Unit Cost Analysis for Registered Nurse Production in Boromarajonani College of Nursing, Sawanpracharak, Nakhonsawan. Nursing Public Health and Education Journal, 2017; 18(1): 104-112. (in Thai)
13. Khunratanasiri, N., Khamwong, M., Kemkhan, P. Unit Cost Analysis of Producing Nursing Student and Health Personnel Development at Boromarajonani College of Nursing, Bangkok of Fiscal Year 2004. Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, Ministry of Public Health, 2006. (in Thai)
14. Singchongchai, P., Amphama, S., Nunkaew, W. Cost in Producing Graduates by the Faculty of Nursing, Prince of Songkla University. Thai Journal of Nursing Council, 2001; 16(1): 22-38. (in Thai)
15. Anungkapun, B. Applied Use of Activity-based Cost in Unit Cost of Producing Student in Faculty of Management Science. Princess of Naradhiwas University Journal, 2009; 1(3). (in Thai)
16. Walailak University. Example of Report Producing on Unit Cost Calculation [online]. 2016 [cited 2018/5/21]. Available from: http://www.qa.wu.ac.th. (in Thai)
17. Wongveeravut, S. The Break-even Point for SMEs. Executive Journal [online]. 2010 [cited 2018/5/21]. Available from: http://www.bu.ac.th. (in Thai)
18. Thailand Nursing and Midwifery Council. Data Sheet on Education Standard and Quality Assurance in Nursing and Midwifery, Year 2017. [Mimeographed.], 2018. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-11

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย