การศึกษาติดตามอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนใน ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย

A Longitudinal Study of Post - Concussion Syndrome in Patients with Mild Head Injury

ผู้แต่ง

  • นิภาวรรณ สามารถกิจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน, อาการด้านร่างกาย, อาการด้านการรู้คิด, อาการด้านพฤติกรรมและอารมณ์, ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามอุบัติการณ์ แนวโน้มและเปรียบเทียบความรุนแรงและการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยภายหลังได้รับบาดเจ็บในระยะ 24 ชั่วโมงแรก 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีกำหนดช่วงเวลาศึกษา และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดจากผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยที่เข้ารับการรักษา ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรมอุบัติเหตุ โรงพยาบาลชลบุรี ในช่วงเดือนมิถุนายน 2559 ถึงเดือนมิถุนายน 2560 จำนวน 59 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์อาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนของผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยของ Rivermead  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะใน 24 ชั่วโมงแรก เดือนที่ 1 เดือนที่ 2 เดือนที่ 3 และเดือนที่ 6 กลุ่มตัวอย่างมีอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนทั้ง 16 อาการ โดยในระยะ 24 ชั่วโมงแรกอาการส่วนใหญ่ เป็นอาการด้านร่างกายมากกว่าด้านการรู้คิด และด้านพฤติกรรม/อารมณ์ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มีความแปรปรวนของการนอนหลับ และอาการอ่อนล้า แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มตัวอย่างมีอาการด้านร่างกายน้อยลง ในทางตรงกันข้ามกลุ่มตัวอย่างรายงานอาการด้านการรู้คิดและอาการด้านพฤติกรรม และอารมณ์เพิ่มขึ้นเมื่อเวลาภายหลังได้รับบาดเจ็บมากขึ้น ผลการศึกษาติดตามแนวโน้มของการรับรู้ความรุนแรงและการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน พบว่าด้านร่างกายมีแนวโน้มการรับรู้ความรุนแรงลดลง และพบว่าในระยะ 24 ชั่วโมงแรกและเดือนที่ 1 กลุ่มตัวอย่างรายงานความรุนแรงของอาการมากกว่าเดือนที่ 2,3 และ 6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05, p < .01), ส่วนอาการด้านการรู้คิดและด้านพฤติกรรม/อารมณ์มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเมื่อระยะเวลาภายหลังการบาดเจ็บมากขึ้น โดยในระยะ 24 ชั่วโมงแรก กลุ่มตัวอย่างรับรู้ความรุนแรงของอาการด้านการรู้คิดน้อยกว่าเดือนที่ 1 และ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01, p < .05) ส่วนอาการด้านพฤติกรรมถึงแม้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มตัวอย่างประเมินระดับความรุนแรง และการรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้นแต่เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความรุนแรงในแต่ละช่วงเวลาแล้วพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

การวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า  พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพควรตระหนักว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะระดับเล็กน้อยอาจมีอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนทั้งด้านร่างกาย ด้านการรู้คิด และด้านพฤติกรรม จึงควรประเมินเพื่อติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดการอาการดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และให้การดูแลอย่างเหมาะสม เพื่อลดความรุนแรงของอาการ ตลอดจนป้องกันกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนถาวร ซึ่งเป็นความพิการที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในระยะยาว

References

1. Willer, B., Leddy, J.J. Management of Concussion and Post - Concussion Syndrome. Current Treatment Options in Neurology 2006; 8: 415-26.
2. Roe C, Sveen U, Alvsaker K, Bautz-Holter E. Post-concussion symptoms after mild traumatic brain injury: Influence of demographic factors and injury severity in a 1-year cohort study. Disability and Rehabilitation, 2009; 31(15), 1235-1243.
3. Hall Ryan CW, Hall Richard CW, Chapman MJ. Definition, diagnosis and forensic implications of postconcussional syndrome. Psychosomatics 2005; 46(3): 195-202.
4. Centers of Disease Control and Prevention [CDC]. Injury Prevention & Control: Traumatic Brain Injury. [database on Internet]. 2014 [Cited 2016 May 16]. Available from http://www.cdc.gov/concussion/index.html
5. Carr J. Postconcussion syndrome: a review. Trauma 2007; 9(1): 21-27.
6. Lundin A, de Boussard C, Edman G, Borg J. Symptoms and disability until 3months after mild TBI. Brain Injury 2006; 20(8): 799-806.
7. Premsai, T. Follow up study of patients’ adaptation after mild head injury. [Thesis]. Bangkok: Mahidol University; 2003.
8. Sigurdardottir S., Andelic N, Roe C, Jerstad T, Schanke AK. Post-concussion symptoms after brain injury at 3 and 12 months’ post-injury: A prospective study. Brain Injury, 2009; 23(6), 489-497.
9. Stalnacke BM, Bjornstig U, Karlsson K, Sojka P. One-year Follow-up of mild traumatic brain injury: Post-Concussion symptoms, Disabilities and Life Satisfaction in Relation to serum levels of S-100B and Neurone-Specific Enolase in acute phase. J Rehabil Med, 2005; 37, 300-305.
10. Savola O, Hillbom M. Early predictors of post-concussion syndroms in patients with mild head injury. European jounal of Neurology, 2003; 10(2), 175-181.
11. Stalnacke BM, Elgh E, Sojka P. One-year Follow-up of mild traumatic brain injury: Cognitive, Disability and Life Satisfaction of patients seeking consultation. J Rehabil Med, 2007; 39, 405-411.
12. Hawley C, Ward AB, Magnay A, Mychalkiw W. Return to school after brain injury. Archives of Disease in Childhood 2004; 89(2): 136-42.
13. Chong CS. Management strategies for post-concussion syndrome after mild head injury: A systematic review. Hong Kong Journal of Occupational Therapy. 2008; 18(2): 59-67.
14. Pataraporn K, Waraporn C, Chanokporn J. Healthy of Traumatic Brain Injury Patients in Thailand: A Systematic Review. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University 2010; 22 Suppl 1: S1-21. (in Thai).
15. Lenz ER, Pugh LC, Milligan RA, Audrey G, Frederic S. The middle-range theory of unpleasant symptom: an update. Advance in Nursing Science. 1997; 19(3): 14-27.
16. Stevens JP. Applied multivariate statistics for the social sciences. USA: Lawrence Erlbaum Associates. 2002.
17. Bazarian JJ, Blyth B, Cimpello L. Bench to bedside: Evidence for brain injury after concussion-looking beyond the computed tomography scan. Academic Emergency Medicine. 2006; 13, 199-214.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-11