ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • คมวัฒน์ รุ่งเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 320 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
  • ศรินยา พลสิงห์ชาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 320 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
  • สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

คำสำคัญ:

nursing students, nursing professional intentions

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ตามแนวทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 475 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของ Ajzen และ Fishbein1 จำนวน 1 ฉบับ ประกอบด้วย 5 ตอน คือ 1) แบบวัดความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
2) แบบวัดความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล 3) แบบวัดการประเมินผลในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล 4) แบบวัดความเชื่อตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และ 5) แบบวัดแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล มีความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า
1.    ปัจจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การประเมินผลในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ความเชื่อตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล และแรงจูงใจที่จะคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.    ปัจจัยด้านเจตคติต่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยที่ปัจจัยด้านการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล ส่งผลต่อความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลสูงสุด มีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .453 และเจตคติต่อการประกอบวิชาชีพการพยาบาล มีค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนมาตรฐานเท่ากับ .357 โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 73.6

คำสำคัญ : นักศึกษาพยาบาล ความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล

 

Abstract


The purposes of this research aimed to study relationship between selected factors and
nursing professional intention and to study predicted factors affecting nursing professional intention according to the theory of reasoned action. The subjects comprised of 475 students in college of nursing under the ministry of public health through two-stage random sampling. The instrument was established by researcher base on the concept of Theory of Reasoned Action (Ajzen & Fishbein, 1980). It was a 5-point Likert scale including five dimensions; nursing professional intention (NPI), belief on nursing profession (BNP), nursing professional evaluation (NPE), normative belief on
nursing profession (NNP), and motivation to comply subjective norm on nursing profession (MNP). The overall reliability by Cronbach's coefficient alpha was 0.88. Data were analyzed by multiple regression.

The result revealed as follows :
1.    Belief on nursing profession, nursing professional evaluation, normative belief on nursing profession, motivation to comply subjective norm on nursing profession was significantly positive relate to nursing professional intention at .01 level
2.    Attitude toward nursing profession, subjective norm on nursing profession was
significantly affected to nursing professional intention at .01 level. Moreover, subjective norm on nursing profession (with .453 of standardized score), and attitude toward nursing profession (.357) were mostly affecting nursing professional intention, respectively and can also predict 73.6 % of variance for the nursing student's nursing professional intention.

Keywords : nursing students, nursing professional intentions

Author Biographies

คมวัฒน์ รุ่งเรือง, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 320 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศรินยา พลสิงห์ชาญ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ 320 ถ.หลักเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000

อาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์  

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เลขที่ 239 ถ.ห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200

รองศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย