การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในด้านโภชนาการ และการอ่านฉลากโภชนาการ สำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • รุ่งนภา จันทรา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

คำสำคัญ:

Understanding on Nutrition, Food Label Reading, Nursing Students

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาพยาบาลเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการเป็นสิ่ง
จำเป็นเพื่อให้นักศึกษาได้ถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจแก่ผู้รับบริการ ผู้วิจัยจึงได้ทำวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ
การส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและการอ่านฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธี 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำข้อมูลพื้นฐานมาใช้พัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและการอ่านฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล
2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยการร่างรูปแบบแล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมิน พบว่าความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อร่างรูปแบบอยู่ในระดับมากและผลการประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ พบว่าร่างรูปแบบที่พัฒนา ขึ้นมีความสอดคล้องกัน หลังจากนั้นผู้วิจัยมีการปรับปรุงรูปแบบก่อนนำไปทดลองใช้ 3) การตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการ โดยนำ
รูปแบบไปทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ชั้นปีที่ 3 จำนวน
32 คน พบว่า ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 4)  การปรับปรุงรูปแบบการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเรื่องโภชนาการและฉลากโภชนาการสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาพยาบาลและคำแนะนำของวิทยากรที่ทดลองใช้รูปแบบ

คำสำคัญ : ความเข้าใจในด้านโภชนาการ  การอ่านฉลากโภชนาการ  นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract


This research and development study was aimed to develop a model promote the knowledge and understanding on nutrition and food label reading for nursing students. The study composed of
4 steps
Stage I: Assessment. This stage was done to assess background information and data of nursing students in order to used these information and data for the model development to promote the knowledge and understanding of nutritional knowledge and food label reading of nursing students. The researcher conducted a review of literature, gave the nursing students a test on nutritional knowledge, attitude and practice as well as on food label reading, and conducted a focus group discussion in order to the develop the theme and contents of model.
Stage II: Develop the model. The model development is composed of 3 stage1) developing the draft model outline consisting introduction, objectives, contents, teaching  strategies and activities, model evaluation , teaching material, tests and outcomes evaluation, 2) validating the draft-developed model, in which it was found that all contents experts agreed that the model was in a very good level and the model was very suitable to promote the nutritional knowledge, attitude  and practice as well as the understanding  of  food label reading of nursing students, and 3)improving the mode; as suggested by the content experts before using in this study.
Stage III: Examination the model effectiveness. In this stage, the pilot-testing of the developed model was conducted in 32 sophomore nursing students of Boromarajonni College of Nursing Suratthani. The model application in the pilot-test revealed the following results.  
1. After applying the model, the scores of nutritional knowledge and understanding  of  food label reading of nursing students were significantly higher than they were before applying the model (p<0.01).
2. After applying the model, the scores of attitude on nutrition and  food label reading of nursing students were significantly higher than they were before applying the model (p<0.01).
3. After applying the model, the scores of nutritional practice and  food label reading of nursing students were significantly higher than they were before applying the model (p<0.01).
Stage IV: Improving the model. Nursing students who participated in the model application suggested increasing and having the duration of model application and activities of all three activities, material appropriate for the model, and a handbook for activities provision to nursing students.  

Keywords : Understanding on Nutrition, Food Label Reading, Nursing Students

Author Biographies

อติญาณ์ ศรเกษตริน, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

รุ่งนภา จันทรา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย