ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง กับพฤติกรรมการเผชิญความเครียด แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้*

ผู้แต่ง

  • ปภาสินี แซ่ติ๋ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000
  • เรณุการ์ ทองคำรอด 9/9 หมู่ที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120
  • สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล 9/9 หมู่ที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

คำสำคัญ:

Adversity Quotient, Transformational leadership, Problem focus coping

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


งานวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการเผชิญความเครียด
แบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาของหัวหน้าหอผู้ป่วยใน 3 จังหวัดชายแดนใต้  กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 162 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น แจกแบบสอบถามรวมทั้งเก็บรวบรวมกลับคืนทางไปรษณีย์ ได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 162 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 โดยมีกรอบแนวคิดทางทฤษฎีในการวิจัยดังนี้ ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Stoltz14 ภาวะ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Avolio, Bass and Jung16 และพฤติกรรมการเผชิญ
ความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา ประยุกต์ใช้ทฤษฎีของ Cook and Happner17 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .86 แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  เท่ากับ 0.93 และแบบสอบถามพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา เท่ากับ 0.84 โดยความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ
เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติ Multiple regression  ผลการวิจัยพบว่า
1.    กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคอยู่ในระดับสูง (= 3.81, S.D. = 0.44) มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับสูง(= 4.22, S.D. = 0.51) มีพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาอยู่ในระดับสูง(= 3.76, S.D. = 0.54)
2.    ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.    ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา ได้ร้อยละ 65.70 (R2 = 0.657 ) โดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสามารถในการร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาได้ดีที่สุด (Beta = 0.65,t = 10.06, p< 0.05) ส่วนความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหาได้น้อยมากจนไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเขียนในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Zพฤติกรรมการเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา=0.65Z*ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง+ 0.07Zความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค


คำสำคัญ : ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรค  ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  พฤติกรรม  
การเผชิญความเครียดแบบมุ่งเน้นการแก้ปัญหา

 

Abstract


This descriptive study research is to determine the relationship of Problem-focused Coping of Head Nurses in the three southern provinces. Sample Head Nurses, 162 people were selected using random stratified sample. Distributed and collected questionnaires were returned by mail. The query returns the number of 162 to 100 percent. The theoretical frameworks used in the research as follows, Stoltz's theory (Stoltz)14 used in the Adversity Quotient. Transformational leadership theory (Avolio, Bass and Jung)16 and Cook and Happner17 were also used for Problem-focused coping.  The research instruments for data gathering were general questionnaire. The reliability of the Adversity Quotient questionnaire is .86, the transformational leadership questionnaire is 0.93 and Problem-focused Coping questionnaire is 0.84.  Moreover, the validity of the questionnaires was 0.94. The percentage, mean, and standard deviation were computed to describe the dispersion of collected data.  Pearson's correlation coefficient was used to strengthen the linear relationship between the factors and multivariate regression analysis, used to determine the predictors. The study showed;
1.    The sample group's Adversity Quotient is in high level (= 3.81, SD = 0.44) Transformational leadership overall is high ( = 4.22, SD = 0.51) Problem-focused coping is high  (=. 3.76, SD = 0.54)
2.    Adversity Quotient Transformational leadership were positively and significantly correlated with Problem-focused coping
3.    Adversity Quotient and transformational leadership Predict Problem-focused Coping 65.70 percentage (R2 = 0.657) by transformational leadership is the ability to predict Problem-focused Coping which is the best (Beta = 0.65. , t = 10.06 p <0.05), Adversity Quotient predict Problem-focused Coping were much less that there was no statistical significance. The standardized equation derived from the analysis was :
Z Problem-focused coping = 0.65 Z* transformational leadership + 0.07Z Adversity Quotient

Keywords : Adversity Quotient, Transformational leadership, Problem focus coping

Author Biographies

ปภาสินี แซ่ติ๋ว, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฏร์ธานี 56/6 ม.2 ต.มะขามเตี้ย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000

พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการด้านการสอน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

เรณุการ์ ทองคำรอด, 9/9 หมู่ที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

อาจารย์ประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, 9/9 หมู่ที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

รองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย