การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงาน ของพนักงานพินิจ หน่วยงานศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 290 ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา จ.กรุงเทพฯ 10260
  • พรทรัพย์ สมิติษเฐียร 19 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120

คำสำคัญ:

Tension, Casual of Tension, Casual Model

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจ หน่วยงานศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน โมเดลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ตัวแปรแฝง 6 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 16 ตัว กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานพินิจ หน่วยงานศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน สังกัดกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน 176 ตัวอย่าง
โดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่
ใช้ในการศึกษาได้แก่ สถิติพรรณนา ภาวะร่วมเส้นตรงพหุการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows version 14.0 และการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยวิธีการวิเคราะห์อิทธิพล โดยโปรแกรม LISREL 8.80 Student Edition  ผลการวิเคราะห์ พบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจ หน่วยงานศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=147.48, df=94, p-value=0.00026, RMSEA=0.057)  เมื่อพิจารณาเส้นทางอิทธิพลทางตรงในตัวแปรแต่ละตัว พบว่า ตัวแปรแฝงลักษณะของงานมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรแฝงความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจในทางลบมากที่สุด รองลงมาคือ การบริหารเวลามีอิทธิพลทางตรงต่อความเครียดในการทำงาน ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 ตัวแปรแฝงปัจจัยส่วนบุคคล สัมพันธภาพภายในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนและความประพฤติของเด็กและเยาวชนมีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรแฝงความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เมื่อพิจารณาเส้นทางอิทธิพลทางอ้อม พบว่า มีเพียงตัวแปรแฝงลักษณะของงานเท่านั้นที่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการบริหารเวลาต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจ  และตัวแปรแฝงลักษณะของงานไม่มีอิทธิพลทางอ้อมผ่านสัมพันธภาพภายในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนต่อความเครียดในการทำงานของพนักงานพินิจ

คำสำคัญ : ความเครียด  สาเหตุของความเครียด   โมเดลเชิงสาเหตุ

 

Abstract


This study was conducted to verify the consistency of a model complex causes of stress and improved the condition of the employees working in training centers and agencies for children and young people. The model developed is composed of six phantom variables. The sample used in the study are the employees working in training centers and training organizations for children and young people which is affiliated with the Department of Child and Youth Protection. A total number of 176 respondents were investigated in this study. They were chosen using multiple (Multi-stage Random Sampling). The primary tool used in this research was a standard questionnaire which consisted of about 5 levels of value. The statistics used in the study included descriptive statistics, multiple
descriptors co linearity and diagnostics to find a Pearson correlation coefficient. The ready-made program SPSS for Windows version 14.0 was used for the cause analysis of the linear model. Analysis of influences was done by using the LISREL 8.80 Student Edition .
The analysis of results revealed a model-oriented cause of stress for the employees working in training agencies and training center for children and youth. The results were consistent with other studies conducted in the past (Chi-Square=147.48, df=94, p-value = 0.00026, RMSEA=0.057) When considering the direct influence while investigating the work unit of the employees, it was noticed that there were a few variable characteristics which were of latent influence. Time management was found to have a direct influence on the causes of stress at work. The statistical significance for this variable was found to be at .05 level. Latent variable factors were more on the nature of personal concerns. Internal factors witnessed at some training centers were the conduct and behavior of children and young people which bears a direct influence on the latent variable. The nature of the job also has a latent influence on the stress experienced by the employees in this particular workplace.

Keywords : Tension , Casual of  Tension , Casual Model

Author Biographies

ธิปัตย์ โสตถิวรรณ์, วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 290 ถ.สรรพาวุธ แขวงบางนา เขตบางนา จ.กรุงเทพฯ 10260

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา, อาจารย์ประจำวิชาศึกษาทั่วไป

วิทยาลัยเซาธ์อีทส์บางกอก

พรทรัพย์ สมิติษเฐียร, 19 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ ถนนสาทรใต้ ยานนาวา สาทร กรุงเทพฯ 10120

อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย