ประสบการณ์ในการฝึกปฏิบัติงานและการปรับตัวของ นักศึกษาพยาบาลจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย มณีวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000
  • ขวัญฤทัย พันธุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

คำสำคัญ:

Adaptation, Student Nurse, Clinical Practice

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การฝึกทักษะปฏิบัติการพยาบาลเป็นหัวใจสำคัญในวิชาชีพพยาบาล  นักศึกษาพยาบาลจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษากลุ่มนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายเจาะลึก โดยประยุกต์วิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และการปรับตัวในการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาลจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 ที่ผ่านการศึกษารายวิชาภาคปฏิบัติทางการพยาบาลปี พ.ศ.2552 ครบทุกรายวิชา จำนวน 21 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตเเบบไม่มีส่วนร่วมและการจดบันทึก เก็บรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพตามขั้นตอนของ
โคไลซี (Colaizzi)
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีการสะท้อนประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติงานใน 3 ลักษณะ ลักษณะแรก คือ ประสบการณ์ด้านการเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้โดยมีลักษณะสัมพันธภาพที่ดีกับแหล่งฝึกปฏิบัติงานโดยได้รับคำชี้แนะจากอาจารย์และพยาบาลพี่เลี้ยง ลักษณะที่สอง คือ ประสบการณ์ด้านการเรียนที่ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้ มีแหล่งฝึกปฏิบัติงานผู้ป่วยภาวะวิกฤต นักศึกษาไม่มีความพร้อมในการฝึกปฏิบัติงานทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากบุคลากรแหล่งฝึกงาน ลักษณะที่สามปัญหาและอุปสรรค ซึ่งทำให้นักศึกษามีวิธีการปรับตัวที่จะเผชิญกับสถานการณ์ และได้ฝึกความอดทนในการฝึกปฏิบัติงาน ส่วนในด้านการปรับตัว พบว่านักศึกษาพยาบาลมีการเลือกใช้วิธีการปรับตัวที่แตกต่างกันโดยวิธีการที่นักศึกษาพยาบาลใช้บ่อย คือ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต อ่านหนังสือทบทวนความรู้ด้วยตนเอง การแสวงหาข้อมูลโดยปรึกษาจากเพื่อนหรือจากรุ่นพี่ การปรึกษาจากอาจารย์ ครอบครัวโดยโทรศัพท์กลับบ้าน  การทำจิตใจให้สบายโดยการพักผ่อน เช่น นอนหลับ รับประทานอาหารที่ชอบ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ รวมทั้งการมองโลกในแง่ดีเพื่อให้กำลังใจตนเอง โดยมีความหวังว่าเมื่อจบจากการศึกษาจะได้อยู่กับคนที่รักและครอบครัว  จากผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดประโยชน์ในด้านการส่งเสริมความเข้าใจกับนักศึกษาที่มาจากต่างวัฒนธรรม เพื่อจัดการเรียนการสอนและสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาให้เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับนักศึกษาที่มาจากต่างพื้นที่และวัฒนธรรม

คำสำคัญ : การปรับตัว นักศึกษาพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาล

Abstract


Training student  nurses and giving them knowledge and skill is the heart of nursing education. Student nurses from borderland provinces in the southern area of Thailand have different cultures compared with other student nurses from all other provinces in Thailand. Moreover, learning experiences of these students is very unique and crucial. This research is a qualitative, descriptive and exploratory research. The objective of this study is to explore the experiences related to nursing practice among student nurses from borderland provinces in the southern area of Thailand and how they adapted themselves to the nursing practice in the clinical area. The participants included twenty one forth year student nurses who were porposedsively selected according to the criteria. Data were collected from July 2010 to September 2010 using in-depth interview, non-participatory observation, and field note taking. Colaizzi method was used to analyze the data.   
The results revealed that student nurses identified two types of learning experiences in the practical area. The first type consisted of experiences that allowed and promoted them to work with health care team. The second type of experiences consisted of experiences that encourage the build up of effective learning experiences. And the third type of experiences, consisted of those challenges, and obstacles encountered in the practical area, which did not promote learning directly, but encouraged an effective adaptation strategies that helped students nurses to cope up with the situation. Regarding adaption issue, the results of this research study revealed that student nurses used various adaptation strategies to cope up with the difficult moments.  The results from this study support the understanding of students from different culture. Thus, nursing colleges should provide an appropriate learning experience and environment congruent with various students from various cultures and settings.   

Keywords : Adaptation, Student Nurse, Clinical Practice

Author Biographies

จันทร์ฉาย มณีวงษ์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

ขวัญฤทัย พันธุ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี 118 หมู่ 1 ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี

Downloads

ฉบับ

บท

Research Articles; บทความวิจัย