บริการวิชาการแก่สังคม : การพัฒนาคุณภาพเพื่อสร้างคุณค่า

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ (หน่วยวารสารการพยาบาลและการศึกษา) สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
  • กรกนก ลัธธนันท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2/1 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

คำสำคัญ:

social services, quality assurance, value creation

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดมาตรฐานด้านการดำเนินการตามภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต  ด้านการวิจัย  ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ในกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้กำหนดองค์ประกอบที่ต้องประเมินตามภารกิจ คือ องค์ประกอบด้านการผลิตบัณฑิต องค์ประกอบด้านการวิจัย  องค์ประกอบด้านการบริการวิชาการแก่สังคม  และองค์ประกอบด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
สำหรับองค์ประกอบ ด้านการบริการวิชาการ ถึงแม้ว่าทุกวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก  กระทรวงสาธารณสุข จะมีผลการประเมินคุณภาพภายในภาพรวมอยู่ในระดับดี - ดีมาก และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกจะอยู่ในระดับดีมากทุกวิทยาลัยก็ตาม แต่ก็ยังมีจุดอ่อนในหลาย ๆ ประเด็นที่ต้องนำไปพัฒนา และนำจุดแข็งไปส่งเสริมให้ดียิ่งขึ้น บทความนี้ จะชี้ให้เห็นถึง จุดอ่อนจากผลการประเมิน การพัฒนาคุณภาพงานบริการวิชาการแก่สังคม กระบวนการดำเนินการบริการวิชาการที่จะสร้างคุณค่าให้กับชุมชน สังคม  และสถาบัน และผลลัพธ์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการให้บริการวิชาการ

คำสำคัญ : บริการวิชาการแก่สังคม  การประกันคุณภาพการศึกษา  การสร้างคุณค่า

 

Abstracts

Ministry of Education has regulated and announced missions for higher education

institutions including producing graduates, researching, social service, and preserving of Thai culture. In addition, Ministry of Education regulations mentioned applying quality assurance system, principle and practice to certify educational quality in  higher educational institutes. The quality assurance system promotes nine elements that are related to the institute's mission.

For social service mission, individual nursing colleges that are affiliated institutes of Praboromarajchanok institute showed the results of quality assurance were accepted in good - very good levels in overall.  Moreover, every college leading by Praboromarajchanok institute also had excellent results of the 3rd external audition.  However, many issues appeared weak points that practitioners need to bring them up to improvement. The strength points should continue developing for better or best practice. Thus, this article aims to reveal the weaknesses of social service aspect, development of social service quality,   social service process that values to social and community, and impact and outcomes of social service process.

Keywords : social services, quality assurance, value creation

Author Biographies

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, (หน่วยวารสารการพยาบาลและการศึกษา) สถาบันพระบรมราชชนก ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 4 ชั้น 7 ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข

อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

กรกนก ลัธธนันท์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2/1 ถ.พญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ